บทความที่ได้รับความนิยม

วันจันทร์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2557

กว่าจะเป็น "ธนบัตร"

กว่าจะเป็น "ธนบัตร"

"
เงินคือพระเจ้า"ประโยคเปรียบเปรยนี้เราอาจเคยได้ยินกันบ่อยๆ เมื่อกล่าวถึงอำนาจบันดาลสิ่งต่างๆ แก่ผู้ครอบครอง ท่านผู้อ่านเคยสงสัยบ้างหรือไม่ว่า "พระเจ้า" ที่คนทั่วไปชอบกันนักหนานี้ถูกสร้างขึ้นที่ไหน?
       
       
สิ่งที่เรียกว่า "เงิน" นี้รู้จักกันดีทั้งในแบบเหรียญและที่เรามีในกระเป๋าตังค์กันส่วนมากคือ "ธนบัตร" เรียกกันทั่วไปว่า "แบงก์สิบ" "แบงก์พัน" ฯลฯ ตามมูลค่า (อาจเพราะออกมาธนาคาร 'Bank' )
       
       
ใครจะรู้บ้างว่าธนบัตรที่เราใช้จับจ่ายทุกวันนี้ไม่ได้เกิดจากกระบอกไม้ไผ่ หากต้องผ่านโรงพิมพ์เช่นเดียวกันกับสิ่งพิมพ์อื่นเบื้องหลังภาพและลายเส้นมากมาย กว่าจะนำออกมาใช้ขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจทั้งระบบได้
       
   
    ต้นทางของธนบัตร
       
       "
ตามกฎหมายเรามีทุนสำรองเงินตราหนุน 100% ประกอบด้วยทองคำซึ่งสมัยก่อนอาจทั้งหมด แต่หลังๆ เรามีเงินสกุลต่างชาติ พันธบัตร และเงินตราสกุลอื่น ในปีหนึ่งจะมีการสั่งจากธนาคารแห่งประเทศไทยในด้านจำนวนผลิต เรียกฝ่ายที่ดูแลว่า 'ฝ่ายจัดการธนบัตร' ซึ่งทำงานประสานกับ 'โรงพิมพ์ธนบัตร'ทั้งสองฝ่ายรวมกันเรียกว่า 'ฝ่ายออกบัตรธนาคาร'สรุปว่าโรงพิมพ์ธนบัตรมีหน้าที่ผลิตธนบัตรให้ฝ่ายจัดการธนบัตรออกใช้"
       
       
ดร.นพพร ประโมจนีย์ กรรมการผู้จัดการโรงพิมพ์ฯ เริ่มต้นอธิบายระบบการผลิตของโรงพิมพ์ธนบัตรฯ ซึ่งยังต้องผ่านกระบวนการอื่นๆ อีกมาก ในบ้านเรากิจการนี้อยู่ในความดูแลของฝ่ายออกบัตรธนาคาร สังกัดธนาคารแห่งประเทศไทยทั้งหมด โดยรับนโยบายจากผู้บริหารแบงก์ชาติมี "เงินในไห" หรือ "เงินสำรอง" ของประเทศเป็นตัวสร้างมูลค่าให้ธนบัตรจนสามารถได้รับความเชื่อถือแล้วแลกเปลี่ยนในตลาดโลกได้
       
       
หากใครเคยผ่านบางขุนพรหมแล้วเข้าไปใต้สะพานพระราม 8 ที่เกือบสุดทาง มองเข้าไปทางซ้ายมือ นั่นล่ะคือต้นกำเนิดธนบัตรทั้งหมดในประเทศนี้ที่หมุนเวียนแลกเปลี่ยนอยู่ในมือนายธนาคาร เศรษฐี นักการเมือง นักธุรกิจ พ่อค้า คนชั้นกลาง นักเรียน ไปจนถึงขอทานหรือกระทั่งมิจฉาชีพ (ซึ่งต้องใช้ธนบัตรซื้อข้าวกินเหมือนกัน)
       
       
ที่นี่คือ "โรงพิมพ์ธนบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย" มีหน้าที่พิมพ์ธนบัตรในสกุลเงิน "บาท" ทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว แน่ล่ะ ธนบัตรเป็นสิ่งพิมพ์เหมือนเช่นสิ่งพิมพ์ชนิดอื่น แต่ ดร.นพพร ก็บอกว่านี่คือสิ่งพิมพ์ Security Printing คือมีคุณภาพสูงและปลอมแปลงยาก ตรงกับตรรกะที่ว่า หากเราใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลสแกนธนบัตรที่รัฐบาลผลิตแล้วพิมพ์ออกมาโดยผ่านเครื่องพิมพ์อิงก์เจ็ต แล้วมีคุณสมบัติเหมือนธนบัตรที่แบงก์ชาติผลิตเป๊ะจะวุ่นวายขนาดไหน (นอกจากผิดกฎหมายแล้วทำอย่างไรก็ไม่มีทางเหมือนธนบัตรที่แบงก์ชาติผลิตด้วยเทคโนโลยีระดับสูง)
       
       
นั่นคือเหตุผลและที่มาทั้งหมดของระบบการผลิตซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยใช้เทคโนโลยีระดับสูง รวมถึงใช้ระบบรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวดกับผู้เกี่ยวข้องทุกคนนับตั้งแต่ก้าวเข้าอาณาเขตโรงพิมพ์ธนบัตร ซึ่งเราเห็นตั้งแต่ระบบประตูอัตโนมัติ เครื่องตรวจจับโลหะ รวมถึงโทรทัศน์วงจรปิดที่ถูกติดตั้ง
       
       "
ระบบรักษาความปลอดภัยของเราจะว่าแยกกับส่วนของแบงก์ชาติไหมก็แยก ตรงโรงพิมพ์ธนบัตรฯ จะเรียกเขตหวงห้ามเป็นโซน 1 2 3 ที่เราคุยกันอยู่นี้คือ 3 และไล่ไปลึกที่สุดคือ 1 เป็นส่วนที่มีธนบัตร ซึ่งมีระบบรักษาความปลอดภัยดูแลใกล้ชิด โดยปกติจะไม่ให้เข้าไป เรามีรายชื่อว่าใครสามารถเดินเข้าออกได้ทุกเขต เช่นตัวผม หรือท่านผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นต้น ถ้าเป็นคนนอกต้องมีเหตุผลและได้รับอนุญาตก่อน เช่น คนที่มาขอชมการผลิต"
       
       
ปัจจุบันโรงพิมพ์ธนบัตรฯ มีภารกิจผลิตธนบัตรจำนวนกว่า 2,000 ล้านฉบับต่อปี หากนับเป็นมูลค่าก็ราวๆ 6-7 แสนล้านบาท "เราผลิตเองมา 36 ปีแล้วครับ เทคโนโลยีเปลี่ยนพอควร ธนบัตรต้องทำให้ปลอมยากแต่ดูง่าย ธนบัตรหลายรุ่นที่ออกไปมีวิวัฒนาการทางเทคนิคทั้งกระดาษและหมึกพิมพ์ ตอนนี้ก็มีพวกโฮโลแกรมติด มีสิ่งที่มองไม่เห็น แต่ใช้เครื่องตรวจได้" ดร.นพพร พูดถึงสถานะปัจจุบันของโรงพิมพ์ธนบัตรฯ ว่า
       
       "
อยู่ในระดับชั้นนำของโลก เราตามเทคโนโลยีใหม่ตลอด ถือเป็นโรงพิมพ์แรกๆ ที่ใช้ของใหม่ เช่นธนบัตรที่ระลึก 60 บาทเมื่อปี 2530 ใช้หมึกพิเศษที่เปลี่ยนสีได้เรียกว่า OVI บนธนบัตรเป็นประเทศแรก ยังมีธนบัตรพลาสติกที่ระลึก 500 บาท ซึ่งใช้เป็นชาติแรกๆ เหมือนกัน แม้ช่วงต้นไม่ได้พิมพ์เอง ก็ถือว่ามีการใช้เทคโนโลยีติดท็อปเท็นครับ"
       
    
  กว่าจะเป็นธนบัตร
       
       
ขั้นตอนการผลิตธนบัตรเริ่มต้นขึ้นอย่างไร? แน่นอนว่าในปัจจุบันธนบัตรจำนวนมากที่เราใช้อยู่ ถูกผลิตด้วยเครื่องจักรอันทันสมัย แต่ในส่วนที่เป็นงานฝีมือนั้นก็ต้องใช้คนอยู่ดี
       
       
ทีมออกแบบธนบัตรปัจจุบันมีทั้งหมด 8 คนซึ่งมีชื่อตำแหน่งเช่น เจ้าหน้าที่ออกแบบ เจ้าหน้าที่แกะโลหะ ผู้วิเคราะห์ ฯลฯ และเชื่อหรือไม่ว่าธนบัตรเป็นงานศิลปะที่คนทั้ง 8 ออกแบบสร้างสรรค์และมีพื้นที่จัดแสดงอยู่ในกระเป๋าเงินของเราทุกคนโดยไม่ได้ลงนามเจ้าของผลงาน
       
       "
จะใช้รูปแบบใดเราต้องดูก่อนว่าธนบัตรนี้เป็นรุ่นอะไร จะมีแบบ ปัจจุบันคือ Series 15 ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี ธนบัตรใบละ 20 บาทเป็นเรื่องราวรัชกาลที่ 8 ธนบัตรใบละ 50 บาท เป็นเรื่องราวรัชกาลที่ 4 ซึ่งเราจะเลือกมาลง โดยเมื่อได้หลักการแล้วจะมีการระดมความคิดว่าจะเอาภาพไหน เรื่องเด่นของรัชกาลนั้นๆ คืออะไร ซึ่งผู้วิเคราะห์จะไปหาข้อมูล อย่างใบละ 50 นี่รัชกาลที่ 4 ท่านเด่นเรื่องวิทยาศาสตร์ ก็จะไปหาพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์มาออกแบบ" กุนที กรีประเสริฐกุล ผู้จัดการแผนกออกแบบฯ ให้หลักการ
       
       "
อย่างธนบัตรใบละ 20 บาท เราจะหาข้อมูลโดยทำเป็นทีม ต้องหาภาพประธานด้านหน้า ภาพประกอบด้านหลัง รัชกาลที่ 8 พระราชกรณียกิจที่เด่นคือการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎร ครั้งที่สำคัญคือตอนเสด็จเยี่ยมราษฎรที่สำเพ็งเพื่อเสริมสร้างความสมานฉันท์ระหว่างชาวจีนและชาวไทยให้อยู่ร่วมกันด้วยความผาสุก และมีการเชิญพระราชดำรัสเกี่ยวกับการให้คนในชาติทำประโยชน์เพื่อบ้านเมือง ซึ่งเราจะ Quote สิ่งดีๆ ให้คนปัจจุบันที่ใช้ธนบัตรได้ศึกษา กล่าวได้ว่าธนบัตรเป็นทูตทางวัฒนธรรมที่บรรจุเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับประเทศไว้อีกด้วย" พรทิพย์ ไทยถิ่นงาม เจ้าหน้าที่วิเคราะห์อาวุโสให้รายละเอียดเพิ่มเติม
       
       
ซึ่งภาพต่างๆ ที่พวกเขานำมาตีพิมพ์เป็นธนบัตรนั้นก็ต้องสามารถจัดองค์ประกอบได้ลงตัวอีกด้วย ถึงขั้นตอนนี้แล้วก็จะมีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบแบบสี (ต้นแบบ) เสนอคณะกรรมการชุดต่างๆ เมื่อได้รับอนุมัติ เจ้าหน้าที่จึงลงมือทำงาน และที่เราทึ่งกับทีมงานชุดนี้ก็คือความ "ยาก" ในการสร้างงานรวมถึงการ "ปิดทองหลังพระ" ในศิลปะของชาติมาตลอดเวลาหลายสิบปีตลอดอายุงานแต่ละคน
       
       
ประสิทธิ์ ชนิตราภิรักษ์ ผู้ชำนาญการแกะโลหะ "จิตรกร" เบื้องหลังภาพพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ ซึ่งเป็นภาพประธานของธนบัตรด้านหลัง กล่าวถึงงานว่า "ส่วนต้นแบบที่ต้องใช้การแกะคือภาพประธาน เป็นการต่อต้านการปลอมแปลง ตรงนี้เวลานำไปใช้เป็นแม่พิมพ์จะออกมาเป็นระบบการพิมพ์เส้นนูนซึ่งการปลอมจะทำไม่ได้ ลวดลายการแกะไม่สามารถทำด้วยคอมพิวเตอร์และถ่ายด้วยฟิล์มทั่วไป ต้องเกิดจากการแกะโลหะซึ่งมีความลึกความตื้นโดยใช้เหล็กเท่านั้น" ซึ่งเครื่องมือการแกะก็ต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ
       
       
อาชีพ "ช่างแกะ" ภาพบนธนบัตรอาจไม่มีใครเคยได้ยิน ประสิทธิ์บอกว่ามีที่เดียวในประเทศคือธนาคารแห่งประเทศไทย "ผมจบจิตรกรรมที่ไทยวิจิตรศิลป์ แล้วมาต่อเพาะช่าง สอบเข้าแบงก์ชาติ เรียนไม่ถึงเทอมเขาเรียกตัวแล้วมาฝึกแกะที่นี่ ข้างนอกไม่มีสอน การแกะภาพต้นแบบยังต้องแกะภาพที่กลับจากของจริง (คือแกะภาพกลับด้าน เพื่อตอนพิมพ์ออกมาเป็นภาพปกติ) สมัยก่อนเอารูปจริงวางแล้วมองในกระจกถึงลงมือได้ ตอนนี้กลับภาพดูด้วยคอมพิวเตอร์แล้วลงมือแกะได้เลย"
       
       "
ธนบัตรแต่ละ Series ต่างกันครับ ลายไทยอาจใช้เพื่อให้เห็นเอกลักษณ์ แล้วแต่การมอง ต่างประเทศเขาก็มีของเขา และใช้วิธีการแกะเหมือนเรา ซึ่งทุก Series ผมคิดว่าไม่มีอันไหนทำง่ายเลย การแกะทีหนึ่งเราต้องใช้เวลาถึง 6 เดือน ซึ่งหมายถึงต้องวางแผนล่วงหน้า 2 ปี ถึงออกธนบัตรแบบหนึ่งได้ โดยการแกะภาพประธานในธนบัตรจะต้องเริ่มหรือทำก่อนส่วนอื่น"
       
       
เมื่อมีความยากในตัวงาน "ช่างแกะ" จึงเป็นบุคลากรสำคัญที่ทางโรงพิมพ์ต้องมีการสร้างทดแทนรุ่นต่อรุ่น ซึ่งปัจจุบันเป็นรุ่นที่ 2 และอยู่ในระหว่างการสร้างรุ่นที่ 3 "บางคนรับเร็วก็เป็นเร็วครับ อย่างผม 15 ปี ไม่ได้ทำงานจริงเลย นั่งวาด นั่งแกะไปเรื่อยๆ โดยทาง ธปท. มีเงินเดือนให้ เป็นกระบวนการที่เขี้ยวมากครับ ใครทำอาชีพนี้ต้องใจรัก และเป็นคนใจเย็นมาก ไม่จบศิลปะไม่ได้เลย ต้องรู้หลักของภาพ แสงเงา ไม่งั้นแกะไม่ได้ นี่เหมือนการ Drawing ด้วยเหล็กดีๆ นี่เอง" ประสิทธิ์กล่าวถึงหัวใจของอาชีพที่เขาคลุกคลีมาตั้งแต่ปี 2522
       
       
ธนบัตรที่ได้รับการออกแบบใหม่หรือเมื่อมีการปรับคณะรัฐมนตรี จะได้รับการลงชื่อจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังทุกคน โดยมีการล็อกหมวดเลขหมายของธนบัตรว่าถึงตรงไหนจะหยุด เพื่อจะเปลี่ยนรุ่นลายเซ็นรัฐมนตรีหรือเปลี่ยนแปลงซีรีส์ "รมว.คลังจะได้เซ็นทุกคน (มีผลทางกฎหมายทำให้ธนบัตรใช้ชำระหนี้ได้) เพิ่งปรับครม. นี่เราเตรียมปากกาเคมีแล้ว เราจะให้ท่านเซ็นเป็นสิบๆ ชื่อ แล้วมาเลือกลายเซ็นที่สวยก่อนส่งพิมพ์" กุนที สรุปกระบวนการ
       
       
เมื่อจบขั้นตอนออกแบบแล้วก็เข้าสู่การผลิตโดยนำแม่พิมพ์ไปผ่านการปรู๊ฟ ตรวจความถูกต้องอีกครั้ง และเทียบสีรวมถึงความเข้มของหมึกพิมพ์ก่อนพิมพ์จริง ซึ่งภาพและลายที่ปรากฏเกิดจากการพิมพ์ 2 แบบ คือ พิมพ์สีพื้นแบบออฟเซ็ตและเส้นนูนแบบอินทาลโย พิมพ์สีพื้นเป็นขั้นตอนแรกโดยใช้เครื่องที่พิมพ์ได้สองด้านพร้อมกัน ทำให้ส่วนที่ออกแบบทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เมื่อเราส่องดูกับแสงสว่างสามารถทับกันได้สนิท
       
       
ก่อนจะตามด้วยพิมพ์เส้นนูนที่ทำให้ยากต่อการปลอม เพราะต้องใช้การพิมพ์พิเศษที่มีแรงกดจนทำให้หมึกนูนจากผิวธนบัตรแล้วนำไปผ่านกระบวนการตรวจคุณภาพ ซึ่งธนบัตรที่ได้จะมีแผ่นที่ดีและอาจชำรุดบางส่วนจากการตัดกระดาษที่เกิดขึ้นซึ่งจะถูกแยกประเภทออกไป
       
       
แผ่นที่มีสภาพดีจะเข้าสู่การพิมพ์เลขหมายลายเซ็นโดยวิธีเลตเตอร์เพรส เพื่อคุมการออกใช้โดยเลขหมายไม่ซ้ำกัน ก่อนนำไปตัดเป็นแผ่นๆ แล้วบรรจุห่อด้วยเครื่อง ส่วนธนบัตรแผ่นที่ชำรุดจะมีการนำไปตัดเป็นรายฉบับและแทนที่ฉบับชำรุดด้วยธนบัตรชุดพิเศษคือหมวด พ ซึ่งตรงกับตัว S ในอักษรโรมัน ก่อนจะบรรจุห่อแล้วเก็บเข้า "ห้องมั่นคง" เพื่อเตรียมส่งมอบฝ่ายจัดการธนบัตรและศูนย์จัดการธนบัตรภูมิภาค
       
       
ปัจจุบันโรงพิมพ์ธนบัตรมีส่วนที่ทำการเดินเครื่องจักรอยู่ 2 อาคาร อาคารเก่าจะทำหน้าที่ผลิตธนบัตรชนิดราคาสูงอย่างราคา 1,000 บาท และ 500 บาท ซึ่งต้องใช้การพิมพ์แบบเส้นนูนทั้งสองด้าน และส่วนอาคารใหม่ซึ่งผลิตธนบัตรที่มีปริมาณการใช้มากอย่างแบงก์ 20 50 และแบงก์ 100 โดยมีอัตราการผลิตสูงกว่าและจะมีการพิมพ์เส้นนูนลงไปเพียงบางด้าน
       
 
      ก้าวต่อไปของการพิมพ์ธนบัตรไทย
       
       "
แบงก์ปลอมเป็นเรื่องปกติแต่หน้าที่เราคือทำให้เกิดขึ้นได้น้อยที่สุดและไม่แพร่หลายจนเกิดความไม่เชื่อมั่น ปกติคนเราแทบไม่มองธนบัตรเลยเวลาใช้เพราะคิดว่าของจริง วันดีคืนดีก็เจอ เรามีหลายวิธีป้องกัน เช่นทำให้สามารถดูง่ายแต่ปลอมยาก ในท้องตลาดตอนนี้เทคโนโลยีการพิมพ์ดีขึ้นมาก อย่างอิงก์เจ็ท สแกนเนอร์ ตอนนี้เด็กๆ ก็ทำได้ แต่สมัยก่อนจะยากกว่าเพราะต้องมีเครื่องพิมพ์มีอะไรมากมาย ตอนนี้ทำได้ แต่ทำได้ก็ไม่เหมือน แต่ก็ใกล้เคียงมากถ้าคนใช้ไม่พิจารณาดูให้ดี จริงๆ บ้านเราไม่ค่อยมีปัญหานี้เท่าไร" ดร.นพพรกล่าวถึงเรื่องธนบัตรปลอม
       
       "
เราไม่ได้อยู่นิ่ง พยายามจัดการ ถ้าแนวโน้มปลอมมากเราก็ประสานงานเพื่อจับกุมผ่านทางตำรวจและพยายามบอกประชาชนว่าวิธีดูทำยังไง จริงยังไง ปลอมยังไง ...ล่าสุดเข้าใจว่าชนิดราคา 100 บาท หรือ 1,000 บาทจะมีการปลอมมากกว่า เพราะปกติเขาจะปลอมธนบัตรที่ปลอมง่ายในแง่เทคนิคและความคุ้มค่า ใบละ 1,000 นี่คุ้ม 20 บาทนี่แป๊บเดียวอาจถูกจับใบละ 500 นี่ตั้งแต่ออกแบบใหม่ของปลอมหายไปเลย เพราะฝังโฮโลแกรม คงไปคิดวิธีอยู่ (หัวเราะ)…"
       
       "
ตอนนี้ผมหนักใจความต้องการธนบัตรที่เพิ่มขึ้น ปี 2004 ที่ผ่านมาพิมพ์ไปถึง 2,004 ล้านฉบับ เป็นสถิติเลยครับ เพราะเพิ่งถึง 2,000 ล้านฉบับเป็นปีแรก อาจแสดงว่าคนมีเงินแล้วเบิกใช้มากขึ้น ซึ่งตอนนี้กำลังสร้างโรงพิมพ์ใหม่อยู่ที่พุทธมณฑลสาย 7 จะเสร็จปลายปี 2549 ทุกวันนี้เราก้าวหน้ามาก บรรลุวัตถุประสงค์หลายจุด 5 ปีมานี้เราเข้าสู่ระบบ ISO ล่าสุดจะได้ มอก. 18000 ซึ่งมีไม่กี่โรงพิมพ์ธนบัตรในโลกที่ทำได้"
       
       "
ตอนนี้มีคนเข้าชมโรงพิมพ์ธนบัตรปีหนึ่งประมาณ 8-9 พันถ้าสนใจสามารถติดต่อมาได้ เราขอให้มาเป็นคณะ เป็นองค์กร ซึ่งเรายินดีรับ แต่มากๆ ก็ไม่ไหวครับสำหรับที่นี่ นานมาแล้วเคยมีนักเรียนต่อแถวมายาวเลย ซึ่งบางทีพวกเขาเด็กเกินไป ตอนหลังเราจะเน้นผู้ใหญ่และนักศึกษาที่เรียนเกี่ยวข้อง เพราะมีเหตุผลเรื่องความปลอดภัยด้วย หรือถ้าหมู่คณะสนใจโปรดติดต่อก่อน" ดร.นพพรทิ้งท้ายซึ่งสำหรับผู้สนใจเข้าชมกิจการพิมพ์ธนบัตรสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ 0-2283-6018
       
       
แม้ว่าใครหลายคนอาจพูดว่า "เงินคือพระเจ้า" แต่สำหรับในบ้านเราก็เป็น "พระเจ้าสมมติ" ที่มนุษย์สร้างขึ้นแถวๆ บางขุนพรหมนี่เอง
       
       ********
       
      
ธนบัตรมีขึ้นเมื่อใด
       
       
ดินแดนแถบบ้านเราใช้เงินตราเป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนตั้งแต่อดีตในลักษณะ "เบี้ย" ทำจากเปลือกหอยก่อนจะวิวัฒนาการต่อเนื่องในอาณาจักรต่างๆ จนยุครัตนโกสินทร์ปรากฏเงินพดด้วงในสมัยรัชกาลที่ 1 จนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 หลังมีการติดต่อกับตะวันตกหลังทำสนธิสัญญาบาวริ่ง การค้าขยายตัวมากจนวัสดุผลิตเหรียญและเงินพดด้วงขาดแคลน จึงมีการใช้ "หมาย" ซึ่งถือเป็นธนบัตรรุ่นแรกสมัยรัชกาลที่ 4 ล่วงถึงรัชกาลที่ 5 จึงมีการจ้างโทมัส เดอลารู โรงพิมพ์สัญชาติอังกฤษพิมพ์ "อัฐกระดาษ" ขึ้นใช้
       
       
สยามจ้างต่างประเทศพิมพ์ธนบัตรมาจนสงครามโลกครั้งที่สองก็เกิดปัญหาขึ้นเมื่อการสู้รบรุนแรงการขนส่งธนบัตรก็ยาก รัฐบาลหันมาใช้โรงพิมพ์ในประเทศระหว่างสงคราม สมัยนี้มีเรื่องเล่าสนุกๆ ว่าธนบัตรไม่มีค่าเนื่องจากรัฐบาลไทยซึ่งถูกกองทัพญี่ปุ่นยึดครองประเทศอยู่นั้นโดนบังคับปล่อยกู้เงินไปจนเกิดเงินเฟ้อ รัฐบาลต้องพิมพ์ธนบัตรออกใช้โดยไม่มีทุนสำรองหนุนหลัง เกิดศัพท์เรียกว่า "แบงก์กงเต๊ก" ขึ้นกับธนบัตรไทย
       
       
สถานการณ์ดีขึ้นหลังสงคราม จนรัฐบาลให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ซึ่งอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส ริเริ่มตั้งแต่ช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2) ตั้งโรงพิมพ์ธนบัตรขึ้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2512 ถือเป็นวิวัฒนาการครั้งสำคัญที่ทำให้ไทยสามารถผลิตธนบัตรใช้เองได้จวบจนปัจจุบัน
       
                          * * * * *
        
       
เรื่อง...สุเจน  กรรพฤทธิ์ 
       
ภาพ...อาทิตย์  นันทพรพิพัฒน์

วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การสะสมธนบัตรควรเริ่มต้นอย่างไร

ผมจะทอยลงบทความของผมเป็นตอนๆนะครับ เพื่อจะได้สบายตาในการอ่าน (ท่านใดมีข้อติชมซักถามก็ยินดีน้อมรับครับ) บทความเหล่านี้ผมต้งใจจะเขียนรวมเล่มเพื่อเป็นหนังสือให้แก่อนุชนรุ่นหลังที่รักการสะสมของเก่า โดยจะแบ่งเป็น 4 เล่ม 4หัวข้อ ตามที่ผมถนัด แต่ด้วยภารกิจ และการหาแหล่งพิมพ์ก็เลยได้แค่เขียนรวมไว้เป็นตอนๆเท่านั้นครับ นักสะสมที่มีประสบการณ์จากงานสะสมอื่นๆมาแล้ว ต่างก็มีวิธีเริ่มสะสมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตัวเอง สำหรับผู้ที่คิดจะเริ่มสะสมธนบัตรใหม่นั้น ผมมีข้อแนะนำเพื่อเป็นแนวทางปฎิบัติดังนี้
ขั้นเตรียมความพร้อมก่อนออกสู่ยุทธภพ 
1.
หาซื้อคู่มือสะสมธนบัตรไทย ของใครแต่งก็ได้แล้วแต่ท่านชอบด้วยราคาและภาพสวยงามถูกใจ
-
เพื่อท่านจะได้เห็นรูปร่าง ขนาด สีธนบัตร ราคาซื้อขาย (ซื้อกันจริงๆจะต่ำกว่าคู่มือเสมอ แต่ถ้าเดินไปร้านคนแต่งตำราแล้วขายธนบัตรด้วยจะโดนหวดอย่างแรง บางใบจะแพงกว่าราคาอ้างอิง ด้วยคำง่ายๆ ? ตัวนี้สวยกิ๊บเลยนะหายาก ราคาย่อมสูงกว่าคุ่มือ ต่อให้คุณตระเวนหาก็ไม่เจอสภาพนี้หรอก? ท่านจงนึกในใจว่า ? ธนบัตรพิมพ์กันเป็นแสน-ล้านใบ จริงอยู่นะเวลานี้มันมีฉบับนี้ที่สวยงามจริง(หรือล้างตัดแต่งมาหรือเปล่าก็ไม่ทราบ) จงอย่ารีบกระโจนเข้าใส่ ของแบบนี้มันสมบัติผลัดกันชม เดี่ยวก็มีของออกมาอีก อาจต้องรอ 4-5ปี แต่ได้ราคาที่ถูกกว่าซื้อ ณ.นาทีนั้นด้วยซ้ำไป?
2.
เริ่มหาซื้อหนังสือเก่าเกี่ยวกับธนบัตรมาอ่านจะได้รู้ว่าแต่ละรุ่นเขาพิมพ์กันแบบไหน กระดาษอะไร หมวดไหนบ้างที่พิมพ์ใช้จริง จุดปลอมจะสังเกตตรงไหนบ้าง อันนี้ต้องอ่านแล้วตีความเองนะท่านเพราะตำราบางเล่มก็เขียนมั่วก็มี ต้องอ่านหลายเล่มมาเทียบคียงกัน
3.
ออกเดินดูตามตลาดนัดต่างๆพูดคุยกะพ่อค้า(ห้ามซื้อของในช่วงนี้นะครับ) สอบถาม ก็จะได้ความรู้แบบ 50:50 มาพอเข้าเค้าเรื่องราคาโดยเฉลี่ย จุดดูเล็กน้อย(เขาไม่บอกจุดตายในการดูแน่นอน) บางทีท่านก็อาจได้พบปะนักสะสมรุ่นต่างๆมาซื้อหาธนบัตร ก็ควรไปพูดคุยทำความรุ้จัก ท่านก็จะได้ความรุ้มาประดับเพิ่มอีกแถมได้เพื่อนต่างอาชีพเพิ่มขึ้นอีก ถ้าเกิดคุยถูกคออัธยาศัยดี อาจได้ธนบัตรรุ่น 12-14 ในราคาเท่าหน้าธนบัตรหรือไม่แพงมาก(จะได้ในคราวต่อๆไปนะคร้าบ ไม่ใช่เจอกันครั้งแรกก็ได้เลย)
4.
ท่านก็จะพอทราบคร่าวๆแล้วว่าที่ไหนเขามีการซื้อขายธนบัตรกันบ้าง (แต่ละที่จะมีราคาและธนบัตรที่แตกต่างกันมาก บางแห่งก็จะมีแต่สภาพไม่ดีราคาแพง ไว้ขายพวกมือใหม่ จงอย่าเห็นว่าเงินแค่หลักร้อยหลักพันได้ธนบัตรยุค ร6-8 มา แล้วควักกระเป๋าซื้อโดยเด็ดขาด เพราะพวกนี้จะสภาพไม่ดีหรือผ่านการตกแต่ง เช่น ล้าง ตัดขอบ ทำให้ดูงามขึ้น แต่เวลาขายออก แทบจะไม่มีคนรับซื้อเลย หรือซื้อก็ถูกมากๆ เรียกว่าขาดทุนเละเทะ แทบจะเอาเท้าก่ายหน้าผาก+หลังกาหลัง 3ตลบ )
5.
กลับบ้านมาอ่านตำราเปรียบเทียบดูราคาสภาพ กับของที่ผ่านตามา ค่อยตัดสินใจต่อไป 
ขั้นลงจากเขาสู่ยุทธภพ
1.
ควรหาซื้ออัลบัมสะสมมาสักเล่มก่อน เลือกแบบสภาพดีหน่อยไม่ต้องแพงมาก
2.
เริ่มหาธนบัตรมาใส่ (ควรใส่ซองพลาสติกก่อนใส่ลงในอัลบั้มอีกที)
เริ่มสะสมธนบัตรที่หาได้ง่ายก่อน โดยเริ่มต้นจากธนบัตรที่ออกใช้หมุนเวียนในปัจจุบัน เพราะหาแลกได้ตามธนาคารทั่วไป ให้ครบทุกราคา ในสภาพUNC(uncirculated ไม่ผ่านการใช้การใช้งาน) แล้วค่อยทยอยหารุ่นอื่นๆต่อไป โดยค่อยๆย้อนกลับไปหารุ่นแรกตามแต่โอกาสที่จะหาได้ ซึ่งอาจใช้วิธีซื้อ หรือแลกเปลี่ยนกันกับญาติพี่น้องคนรู้จัก โดยการสอบถาม ท่านก็จะได้มาให้ราคาเท่าหน้าธนบัตรหรือบวกเพิ่มเล็กน้อย (โดยเฉพาะแบบ 12-14 ยังคงมีคนเก็บไว้อยู่จำนวนมาก ปัจจุบันคือแบบ15 ) เมื่อท่านมีครบทุกราคาในบางแบบแล้ว ท่านค่อยขยายการสะสม มาในเรื่องลายเซ็นต์ในแต่ละแบบแต่ละราคา ช่วงนี้จะเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ ที่ทำให้นักสะสมบางคนเลิก หรือมีกำลังใจมากขึ้น หรือลดคุณภาพในการสะสมลง(ลดสภาพจาก unc เป็น F((Fine สภาพพอใช้) เพราะติดปัญหาเรื่องงบประมาณ)
ทุกแบบ ทุกราคาล้วนจะมีตัวติดหรือใบที่หายาก ราคาสูงมาก นักสะสมควรใจเย็นรอคอยจังหวะ พยายามทำความรู้จักนักสะสม พ่อค้าให้มากที่สุดเท่าที่ท่านจะมีเวลาให้ ห้ามใจร้อนตรงรี่เข้าไปซื้อเด็ดขาด มิฉะนั้นท่านจะพบว่าท่านได้ของแพงมาโดยมิจำเป็น (ยกเว้นท่านมีเงินเหลือเฟือ สะสมเอามันส์ ) การที่ท่านใจเย็นสักพักท่านก็จะได้ของจากนักสะสมรุ่นเก่าที่เขาเบื่ออยากขายออกหรือมีความจำเป็นต้องใช้เงิน ราคาที่ได้จะไม่แพงเลย (เพราะคนขายสะสมมาตั้งแต่ราคาไม่แพง ขายออกตอนนี้เขาก็คิดว่าเขาได้กำไรมากโขแล้ว และได้ขายของให้นักสะสมที่รักในสิ่งเดียวกัน เขาและท่านย่อมพอใจทั้งคู่ ทั้งยังเป็นการสานสัมพันธ์ อันดีต่อกันในเรื่องอื่นที่จะตามมาในอนาคต 
ขั้นท่องยุทธภพ
1.
ท่านก็จะพบว่ายังมีธนบัตรแบบแปลกๆที่ไม่มีในตำรามากมาย ทั้งปรู๊ฟ ทั้งตลก(แท้+ทำเองกะมือซะมาก) ท่านก็จะพอดูออกแล้วอฉบับไหนมีคุณค่าน่าสะสมหรือน่าเมินผ่านไป เพราะอ่านตำรายุทธมาอย่างดี +ได้พบจอมยุทธนักสะสมมาหลายท่าน
2.
ท่านก็จะพบว่ายังมีนักสะสมรุ่นโคตรเซียน เก็บตัวอยู่ มากมาย และนักสะสม มือใหม่ มือกลาง ทั่วทุกทิศทั่วไทย ท่านก็ควรจะต้องอัพเดทฝีการสะสมมือไปเรื่อยๆ ตามงบประมาณและจุดยืนที่ท่านตั้งใจไว้แต่แรก ห้ามก้าวข้ามจุดยืน มิฉะนั้น จะเกิดอาการธาตุไฟเข้าแทรก นะคร้าบ ทั้งตังค์ในกระเป๋า เจอของแพง ของปลอมเหมือน ....จริง ชนิดที่ว่าเซียน+พ่อค้าเถียงกันไม่จบก็มี (พวกที่หาข้อยุติไม่ได้นี้ไม่ควรซื้อเข้าอย่างยิ่ง ยกเว้นได้มาฟรี ควรแค่ถ่ายรูปเก้บไว้ศึกษาจะดีกว่า)
3.
งานสะสมพวกนี้ถ้าท่านเล่นดีๆก็เสมือนหนึ่งเป้นการออมและลงทุนในระยะยาว เพราะราคาของเหล่านี้จะถูกผลักดันขั้นทุกๆ 5ปี (แต่อย่าลืมต้องคำนึงถึงค่าสูญเสียโอกาสในการลงทุนทางอื่นด้วย เช่น อัตราการลงทุนในทองคำให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 10% ในรอบ 20ปีที่ผ่านมา คุ้มไหมกับที่ที่จะนำเงินมาลงทุนเพื่อเก็งกำไรในงานสะสมชิ้นนี้ หรือท่านซื้อธนบัตรใบนี้เข้าในราคาใด ณ.เวลานั้น ซึ่งควรจะซื้อในราคาต่ำกว่าคู่มือมากๆ จึงจะคุ้มค่า หลายท่านก็อาจสงสัยว่าแล้วจะทำได้หรือ ขอตอบว่า ทำได้ แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนทุกเวลา ขึ้นกับโชควาสนาด้วยครับ แต่การไปไล่ซื้อพ่อค้ามาเก้บนะส่วนใหญ่จะขาดทุนหมดทุกราย(เมื่อเทียบกับอัตราการลงทุนด้านอื่นๆ) 
ขั้นเทพเก็บตัว
ท่านจะเบื่อหน่ายเวลาเดินตลาดของสะสม เพราะมีจนไม่รุ้จะมีไปทำไมแล้ว ตัวติดยากๆก็คงไม่มีวันบบรรลุเช่น พวกเงินกระดาษหลวง หมายพระราชทานราคาชั่ง พวกนี้จะหายากมากๆ ท่านรุ้ไปหมดแล้ว ท่านก็จะเริ่มหางานสะสมชนิดอื่นมาทำ ส่วนของสะสมเก่าก็รอวันมอบสู่ลูกหลานในตระกูลคนที่ท่านโปรดปราน แต่จากประสบการณ์ที่พบ ส่วนใหญ่จะพบว่าลูกหลานมันดันไม่ใส่ใจขโมยไปขายแบบถูกๆซะเนี่ย กลับมาเปิดกรุดู อ้าว ตรู..เล่นมาทั้งชีวิต มันหอบไปเกลี้ยง 555+ กับอีกแบบทั้งยัดทั้งกราบให้ช่วยสืบทอดแต่กลับไม่มีใครสนใจ จึงจำเป็นต้องขายออกทอดตลาด ให้นักสะสมรุ่นใหม่ .. ถ้าท่านใดเจอประเภทหลังนี่นับว่าโชคดี แบบพระเอกในหนังจีนกำลังภายในเลย อยุ่ก็มีคนเอาวรยุท์+อาวุธตำรา มาถ่ายทอดให้ สบาย ไม่ต้องสะสมพลังวัตต์นานนับสิบปี เหมือนท่านอื่นๆ  
นักสะสมจะต้องแบ่งการสะสมออกเป็น4ระดับ
1.
ระดับพื้นฐาน (Basic set ) คือ การสะสมธนบัตรให้ครบทุกแบบ และมีครบทุกราคาในแบบ โดยไม่จำเป็นต้องมีครบทุกลายเซ็นในแบบ(สะสมเฉพาะแบบ9-ปัจจุบัน) ยกตัวอย่างเช่น ธนบัตรแบบ 9 ราคา 1 บ. มีทั้งหมด 19ลายเซ็น ท่านก็อาจเลือกมา1ใบ มาจัดชุดคู่ราคา 5 10 20 100 บและ50สต. ให้ครบก็พอแล้ว
2.
ระดับกลาง( Medium Set) คือการสะสมคล้ายแบบ1 แต่ จะเพิ่มแบบ 1- 8 ลงไปด้วย และพยายามหาลายเซ็นให้มากที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ตามงบที่ตนเองมีอยู่ แต่ก็ไม่จำเป็นต้องครบลายเซ็นต์
3.
ระดับสูง (Advance Set) คือ การสะสมแบบครบทุกแบบ ทุกราคา ทุกลายเซ็นต์รวมถึงหมวดคร่อมหมวดชนต่างๆ ในระดับนี้แต่ละท่านยังมีการแบ่งย่อยออกไปอีก ตามความพอใจและกำลังทรัพย์ เช่น สะสมธนบัตรที่ไม่ได้มีประวัติบันทึกว่ามีจำนวนพิมพ์เท่าใด มีการสั่งพิมพ์จริงไหม หรือแค่ของwaste product ของโรงพิมพ์ เช่น พวกธนบัตรตัวอย่างแบบ 1- 9 ที่ผู้เขียนพบข้อสังเกตบางประการ ว่าแตกต่างกันมาก ในรุ่นและราคาเดียวกัน ลายเซ็นต์เดียวกัน การสะสมหมวดเสริมให้ครบทุกราคาทุกลายเซ็นต์ การสะสมธนบัตรปลอมยุคเก่า
4.
ระดับผู้เชี่ยวชาญ (expert Set ) คือการสะสม แบบที่ 3 ควบคู่ไปกับการศึกษาเอกสารทางประวัติศาสตร์ต่างๆที่เกี่ยงข้องกับกระบวนการพิมพ์ธนบัตร เช่น จดหมายเหตุ บันทึกของบุคคล ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการพิมพ์ ธนบัตร ที่มาที่ไปของธนบัตรเก่าต่างๆ พวกนี้จะเน้นข้อมุลเชิงลึกทุกอย่างเชิงประวัติศาสตร์ พร้อมไปกับธนบัตรที่สะสม
การสะสมระดับ3และ4 นี้ ต้องมีความเข้าใจและทำใจให้ได้ว่าจะสามารถสะสมให้ได้มากที่สุดเท่านั้น ไม่มีทางที่จะสะสมให้ครบทุกอย่างตามคู่มือได้(หมายถึงมีทุกหมวดต้น หมวดชนเ ลขตองในทุกแบบทุกราคา หมายพระราชทาน ทุกราคา เงินกระดาษหลวง) ผมขอเน้นให้นักสะสมเข้าใจในจุดนี้ให้มาก เพราะหากต้องการสะสมระดับ3-4 ควรทำใจไว้ล่วงหน้า และต้องเข้าใจว่าท่านสะสม เป็นงานอดิเรก สะสมแล้วผ่อนคลาย มีความสุข หลายท่านอาจสงสัยว่า ถ้าไม่ครบชุดในระดับ3-4 แล้ว ทำไมคู่มือจึงต้องลงรายละเอียดทุกรุ่นทุกแบบที่ออก ขอเรียนชี้แจงว่า คู่มือนั่นผู้เขียนต้องการทำให้แบบมาตรฐานตามหลักวิชาการ สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาหาความรู้อย่างแท้จริง เพื่อให้วงการสะสมธนบัตรทั่วโลกนำไปอ้างอิงได้ ซึ่งรายละเอียดในคู่มือเหล่านั่นก็ได้จากของสะสมจากนักสะสมหลายๆท่านนำมารวมกัน จึงครบหรือเกือบครบ
ผมขอฝากข้อคิดไว้ว่า?คุณค่าของสะสมไม่ได้อยู่ที่ของราคาแพง... แต่อยู่ที่ความสุขใจอันเกิดจากการได้เก็บรักษาของที่เรารัก
สวัสดีครับ คุณสิงห์ 
พอดีงานยุ่งๆเกือบสมัครสมาชิกเวปนี้ไม่ทันแนะ มาเข้าวันสุดท้ายเลย +กับตามล่าหนังสือหายากเกี่ยวกับธนบัตรไทยอยู่ เดินเข้าๆออกๆหอจดหมายเหตุธปท.เป็นว่าเล่น เพื่อหาข้อมุลการพิมพ์ธนบัตร บัดนี้โชคดี ได้พบหนังสือหายากมาก แม้ในตัวหอสมุดเองก้มีแต่ฉบับสำเนาเท่านั้นและบางเล่มก็ไม่มีในหอสมุดของที่ใดเลยผมได้ต้นฉบับหนังสือจริงมาแล้ว 2เล่ม เดี๋ยวจะโพสให้ชมกันครับ คุ่มือเล่มใหม่แพงไหมครับเห็นขายในเวปเล่มละ800บ.ไม่รวมค่าส่ง ผมยังไม่ได้ซื้อเลย อะ
การดูธนบัตรว่าUnc นั้น มีหลายวิธี แล้วแต่ใครจะใคร่ใช้ แต่สำหรับผมจะใช้หลายแบบร่วมกันครับ ส่วนธนบัตรแบบมาทั้งแหนบ ก็อย่าเพิ่งมั่นใจนะครับว่า Unc เพราะอาจล้างมาทั้งแหนบก็ได้ครับ โดยเฉพาะแหนบที่สายรัดแหนบเก่าไม่ตรงยุคนี่พึงระวังครับ พบได้มากในธนบัตรแบบ 9 ครับ ล้างกันมากเพราะมันคุ้มค่า วันนี้ง่วงแล้ว พรุ่งนี้จะอธิบายว่าการดูว่าธนบัตรUNC ทำอย่างไรครับ  ท่านอื่นมีวิธีอื่นก็ช่วยๆกันแนะนำมานะครับ จะได้ขยายความรุ้ให้กว้างขวางยิ่งขึ้นไป
การล้างทำได้ทั้งเหรียญ ธนบัตร และแสตม์ปครับ น้ำยาที่ใช้อาจแตกต่างกันเท่านั้น ผมจะไม่ลงรายละเอียดในสุตรน้ำยานะครับเพราะเวปนี้เป็นสาธารณะ อาจมีผู้คิดฉ้อฉลเกิดนำไปใช้(ปัจจุบันก้มีคนล้างเยอะอยู่แล้ว ไม่อยากให้มันมีคนล้างมากขึ้นครับ)
แต่ผมจะบอกวิธ๊สังเกตแทนนะครับ ว่าผ่านการล้างมาหรือไม่ ต่อให้ล้างเก่งแค่ไหนก็ดูออกครับ ถ้าคุณไม่ใจร้อนค่อยสังเกตดู
1.
ธนบัตร ล้างแล้ว ทับให้เรียบสัก2-3วัน ก้ขายได้
2.
แสตม์ป จะล้างใน 2กรณี คือใช้แล้วแต่มีสนิมหรือเหลือง ทำให้ขาว ดูมีราคา อันนี้ยังไม่น่ากลัวเท่า นำแสตม์ป ชุดแพงที่ยังไม่ใช้แต่ มีสนิม มาล้างแล้วทำกาวใหม่ มาขายในสภาพนอก นี่สิน่ากลัวมาก เพราะการล้างกาวออกก็เท่ากับคุณค่าแสตม์ปนั้นตกลงเหลือเท่าแบบใช้แล้ว
3.
เหรียญ นี่ จะล้างได้ทุกแบบ ยกเว้นเหรียญ พวก2 สี เช่นสิบบาท เพราะ จะเกิดปฏิกิริยาออกชิเดชั่นและรีดักชั่นของเนื้อโละไม่เท่ากัน จะทำให้เนื้อส่วนผสมปนเปื้อนกันเละเทะ 
ธนบัตรไม่ผ่านการใช้งาน(UNC)สังเกตได้อย่างไร
นักสะสมหลายท่านต่างก็มีวิธีดูเฉพาะแบบ แต่วิธีที่ผมจะนำเสนอต่อไปนี้ เกิดมาจากศึกษาค้นคว้าในเรื่องกระดาษ หมึกพิมพ์ เทคนิคการพิมพ์ ของแต่ละบ.ที่พิมพ์ธนบัตรในแต่ละยุค ซึ่งถ้าเราเข้าใจเรื่องพวกนี้ดีพอเราก็จะตัดสินใจได้เลยว่าธนบัตรแบบต่างๆที่นำมาเสนอขายนั้นUNC จริงหรือไม่โดยไม่ต้องไปถามใครให้ยุ่งยาก ก่อนจะถึงวิธีของผม มาดูวิธีที่เข้าใช้กันท้องตลาดก่อนครับ
1.
ธนบัตรไม่ผ่านการใช้งาน จะต้องมีสีออกขาวมอๆหรืออมเหลืองอ่อนๆตามยุคสมัยของกระดาษที่เก็บนาน ---- ไม่จริงเสมอไปครับเพราะธนบัตรบางฉบับไม่มีรอยพับก็จริงแต่เก็บรักษาไม่ดี มีคราบสนิมหนัก เขาก็ล้างด้วยน้ำยาสูตรเข้มข้น ผลคือ ธนบัตรจะขาววอกไป ก็ต้องมาทำการย้อมให้ออกขาวอมเหลืองมอๆหน่อย ก็จะสวยปิ๊ง อัพราคาสูงลิบ ตรงนี้จุดนี้ถ้าเข้าใจแบบที่ผมศึกษามาปัญหานี้ก็จะหมดไปครับ ยังไม่เฉลย ลองไปคิดๆกันดูก่อนว่าจะพิสูจน์อย่างไรว่าย้อมหรือไม่ แล้วผมจะมาเฉลยครับ
2.
ธนบัตรไม่ผ่านการใช้งาน ต้องแข็งตึ้ก จับมาสะบัดๆ จะดังพับๆ อันนี้ก็ไม่แน่ครับ เพราะล้างแล้วทับ แล้วลงสารบางชนิด ก็แข็งตึ๊กๆ ผับๆๆเลย ถ้าใช้จุดนี้สังเกตก็ตกม้าตายมาหลายรายแล้ว อีกอย่างถ้าเป็นธนบัตร แบบ 1 4(กรมแผนที่) 6และ7 ท่านไปจับสะบัดพึ่บๆ อาจเกิดการฉีกขาดตรงลายน้ำคลื่นได้ คราวนี้ละงานเข้า เจ้าของเขาต้องเรียกค่าเสียหายแน่ๆ ส่วนแบบ1หน้าเดียว กระดาษบางอยู่แล้ว และเจ้าของเขาจะใส่ซองแข็ง 2ชั้น ไม่ยอมให้ท่านดึงมาสะบัดแน่นอน เพราะใบหนึ่งว่ากันที่ หลักแสนถึงหลายล้านบาท
3.
ธนบัตรไม่ผ่านการใช้งาน สีต้องสดใส มีซีดจาง ขอบมุมไม่คมกริบไปนัก อันนี้จริงครับ ถ้าขอบมุมคม90องศา นะตัดแต่งขอบมาชัวร์
คราวนี้มาดูวิธีของผมบ้างครับ 
1.
ธนบัตรแบบ1 หน้าเดียว จะพิมพ์แบบราบไม่มีเส้นนูน ใช้หมึกชนิดเดียวกับที่พิมพ์แสตมป์ ร.5 ชุด 2-3 คือโดนน้ำแล้วหมึกจะจางลง และไม่ทนต่อสารเคมีมากนัก ดังนั้น ถ้าท่านพบแบบที่สีซีดก็เป็นไปได้2กรณีคือ ใส่กรอบโชว์ไว้นานโดนแสงเลีย กับทับน้ำมาให้เรียบ ธนบัตรแบบ 1นั้นดูว่าUnc นั้นไม่ยาก แต่ดูว่าปลอมไหมนี่สิยาก เพราะมีการปลอมยุคเก่าจาก 2ประเทศถ้าเป้นแบบผ่านการใช้มาแล้วจะดุยากพอสมควร
2.
ธนบัตรแบบที่ 2-ปัจจุบัน จะพิมพ์โดยใช้ระบบหมึกกองนูน(Intaglio) ถ้าเป็นแบบ 2-9 นี่หมึกมันจะเงามากเพราะความร้อนชื้นในประเทศไทย เวลายกส่องพลิกเอียงทำมุม 30 องศาในแสงธรรมชาติจะเห็นเป็นเงาสะท้อนแสง ดังนั้นเวลาซื้อควรขอดูในแสงธรรมชาติเท่านั้น ถ้าท่านไปซื้อในร้านตามห้าง ก็ควรพกแว่นขยายชนิดที่มีไฟLED*40เท่าไปด้วยและพลิกมุมกล้องไปมา
3.
ความแข็งของธนบัตรและสีขอบ สีตัวธนบัตร ก็จะนำมาพิจารณาประกอบในอันดับท้ายๆ ด้วยเหตุผลที่กล่าวข้างต้น
4.
กระดาษที่ใช้พิมพ์ธนบัตร จะประกอบการพิจารณาเรื่องความแท้และสภาพของธนบัตรว่าผ่านการใช้งานมาหรือไม่ ซึ่งจะกล่าวในบทถัดไป ....
การซื้อธนบัตรเป็นแหนบหรือยกลูกควรพิจารณาดังนี้
1.
สายรัดธนบัตรในแต่ละแหนบควรเป็นของเดิม ถ้าเป็นของใหม่ให้พึงสันนิษฐานไว้ก่อนว่าอาจล้างมาทั้งแหนบ สีของสายรัดจะเหลือง+กระดาษกรอบ หรือขยับสายรัดดูจากตำแน่งเดิม ตำแน่งที่โดนสายรัดจะขาวกว่าตำแหน่งอื่นแสดงว่าสายรัดนั้นอยู่กับแหนบนั้นมานานเป็นของเดิม(มีเจ้าของบางคนเก้บรักษาดีก็มีครับแต่ยังไงสีของสายรัดมันจะอมเหลืองกว่าตัวธนบัตรแน่นอน เพราะ ธนบัตรทำจากฝ้ายหรือลินิน หรือมิตซูมาต้า(แบบ5) แต่กระดาษสายรัดทำจากเยื่อไผ่ ครับ
2.
กรณีที่แหนบนั้นมีธนบัตรสภาพย่นๆปน และขาวทั้งแหนบ ตีไปเลยว่าล้างมาแบบเอาเร็วขี้เกียจไล่ทับให้เนื้อกระดาษเรียบ คนขายจะอ้างว่าชื้นก็ไม่ต้องสนใจแล้ว
3.
พวกยกลูก 1000 ฉบับ นี่ไม่ค่อยมีปัญหาเพราะจะอยู่ในกล่องกระดาษ (แบบ 2- 9) มีตราครั่ง+เชือกครบ เวลาซื้อขายจะผ่าด้านข้างกล่องให้เห็น พวกนี้มักขาวสวย เพราะมีกล่องกระดาษหุ้มมาก่อนแล้ว
ถูกต้องแล้วคร้าบ ถ้ายิ่งเป็นลูก(1000ฉบับเรียงเลข) ยิ่งแพงกว่าอีกครับ เช่น 5บ.แบบ 9 ลายเซนต์ธรรมดา ราคาต่อใบ 100
ราคา/แหนบ 12000บ ราคาต่อลูก 230000 บ จะเห้นว่าราคาจะก้าวกระโดดครับ ราคานี้คือราคาพ่อค้าขายให้นักสะสมนะครับ แต่ถ้าเป้นผมเอาเงิน แสนสองแสนไปทำอย่างอื่นดีกว่าครับ ยังทำประโยชน์ได้มากกว่ามาซื้อของพวกนี้ ไว้รวยๆแล้วมีเงินเหลือๆสักหมื่นล้านค่อยมาซื้อดีก่า
ราคาธนบัตรเพิ่งมาแรงในช่วงหลังปี 40 นี่เอง แต่ก่อน F12 ป-เดช ใบละ13000บ คนยังเมินเลย การเก็บธนบัตรควรเก้ยราคาตำสดีกว่า เพราะจะมีราคามากกว่า เช่น ราคา 1 บ -20 บ ราคาสูง ยากที่จะคุ้ม ยกเว้นคุณจะมีอายุเกิน 100 ปีถึงจะเห้นผลแบบหนักๆ ส่วน 100 บโทมัส จะคุ้มก็เห้นมีอยุ่แค่ 2ใบ คือ B60 97 เท่านั้น ที่พอจะให้ผลสูสีกับทองได้ แต่ถามว่าใครในเวลานั้นจะรุ้ล่วงหน้าว่ามันจะมีหมวดเดียวหรือ0.1หมวด มันอาศัยโชควาสนาเสียมากกว่า ผมถึงเน้นเสมอว่า ถ้าเน้นเล่นธนบัตรแบบเก้งกำไร ไม่คุ้มหรอก เจ็งกับเจ๊าเท่านั้น ถ้าเก้บแบบสนุกแบบศ฿กษาไปด้วยน่าจะดีกว่า การหวงัว่าเราจะมีตัวแพง ทำกำไรได้เวลาขายออก วงการนี้ยังแคบมากในเมืองไทย 
นี้ 10 20 บหน้าหนุ่ม แค่หาสวยๆ1ใบยังยากเลย นับคุณโชคดีมากๆครับ ของสะสมนี่คนชอบแค่ได้เห้นมันก็มีความรุ้สึกปลาบปลื้มมีความสุขแล้ว 
สมัยก่อนผมเคยเจอนักสะสมรุ่นเก่ามากๆคนหนึ่ง ก็ไม่ได้ตั้งใจไปซื้อธนบัตรหรอก ตอนนั้นแค่บ้าแสตม์ป ไปบ้านท่านคุยกันไปมาท่านก็ปรารภว่าไม่มีผุ้สืบทอด ลูกก็มีแต่โมมยไปขายแบบถูกไม่รุ้ค่า เพราะติดการพนัน ช่างน่าสงสาร ท่านพาเข้าชมห้องเก็บของสะสมบางห้องของท่าน ใหญ่มากๆ ละลานตาจริงๆ เรียกว่าถ้าดูกัน ปีหนึ่งก็ไม่หมด หลายพันอัลบั้ม หลายร้อยกล่องพลาสติกแบบใหญ่ ท่านยกมาให้เราดูเปิดไปเรื่อยๆ ได้พวก แบบ 1-2 5 มาเยอะพอควร เสียดายตอนนั้นไม่มีเงินพอจะซื้อท่าน ทั้งหมด ก็ได้แค่เลือกๆมา มันมีความสุขมากตอนนั่งดูไปแต่ๆอัลบัม เวลา 1วัน ที่ไปหาท่านช่างหมดไปอย่างรวดเร้ว 
การสะสมธนบัตรควรเริ่มต้นอย่างไร ภาค 2
ขออภัยที่หายไปนาน เนื่องด้วยติดภาระกิจงานประจำ มาต่อกันเลยนะครับ เมื่อท่านทราบแนวทางคร่าวในการสะสมธนบัตรแล้ว การดูธนบัตรแบบ UNC แล้ว การตัดขอบธนบัตร การล้างธนบัตร
หลายท่านก็ยังคงสงสัยเหมือนกันแล้วจะสะสมสภาพไหนดี สำหรับผมที่ผ่านวงการสะสมธนบัตรมานานนับสิบปี ขอเน้นเลยนะครับ ว่าท่านมี 2 ทางเลือก
1.
สะสมแค่เอาสนุก เพลิดเพลิน โดยตัดงบสะสมออกมาจากค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตแล้ว ท่านก็เลือกสะสม สภาพพอสวยก็ได้ คำว่าสภาพพอสวย เป็นอย่างไร คำนี้แต่ละคนนิยามไม่เหมือนกันนะครับ เช่นบางคนบอกว่าแค่ไม่ขาด ไม่แหว่ง พับหนักกี่ทบก็ไม่เป็นไร สีสันซีดจาง มีรอยหมึกลายเซ็น ติดอยุ่ ล้างมา ตัดขอบมา สรุปได้ว่า ธนบัตรฉบับนั้นจะผ่านการ ล้าง ทับน้ำ ตัดขอบ มาอย่างไรก็ไม่สน ขอแค่มีครบทุกแบบก็พอ
ถ้าเลือกแนวนี้ ก็ใช้งบ ไม่มาก ราว 2-3 แสน ท่านก็จะได้ครบ ตั้งแต่แบบ 1- ปัจจุบัน (ไม่รวมธนบัตรราคา 1000บ แบบ 1 2 4 5 และแบบพิเศษ นะครับ
อนาคต: เมื่อเบื่ออยากขายออก บอกได้คำเดียวครับ ว่าเจ๊ง ๆๆๆๆๆ หรือภาษาไทยเรียกว่า ขาดทุน ยกเว้นว่าท่านจะก็บไปอีก 100 ปี ก็จะพอเท่าทุน เพราะธนบัตรมีตำหนิ จะตีราคาต่ำ กว่า GOOD ในคู่มือหลาย เท่าตัวเลย เงิน 2-3 แสน ที่ท่านสะสมไปก็คิดเสมือนว่าเอาไปเที่ยวเมืองนอกละกันครับ ได้ความสุขช่วงหนึ่งในชีวิต
2.
สะสมแบบถูกต้องจริงจัง แบบนี้เน้นแต่UNC และต้องไม่มีการตัดขอบหรือล้างนะครับ แม้จะใช้งบประมาณ มาก อาจเกิน 50 ล้านบาท ท่านถึงจะมีครบทุกแบบ แต่ท่านอย่าเพิ่งตกใจ ท่านสามารถเลือกได้ครับ วาจะเล่นในลิมิตแค่ไหน เช่น ไม่จำเป็นต้องคว้านซื้อเข้าทุกลายเซ็นทุกแบบ แค่เจอ UNC ควรซื้อครับ แต่ก็อย่าซื้อแพงเกิน คุ่มือนะครับ ไม่ว่าคนขายจะพูดชักจูงอย่างไรก็ตาม (จริงควรซื้อเข้าในราคาคู่มือเก่า ลด 20% ) ฉบับใหม่นี่อ่านแล้ว ราคาโอเว่อร์ครับ ยิ่งพวก หมวดเสริม ยิ่งไปกันใหญ่ ธนบัตร แบบ 11-14 หมวดเสริมบางลายเซ็นเรียกกันเป็นหมื่น พวกนี้ปล่อยผ่านเลยครับ อย่าไปสนใจ เพราะท่านซื้อมาจะขายยากมาก คนเล่นหมวดเสริมแบบจริงจัง มีไม่เกิน 10 ท่านหรอกครับ
ถ้าเลือกแนวนี้ อาจใช้งบมากในแต่ละใบ แต่อย่าลืมว่าเราเลือกตามวงเงินเราได้ อย่าให้กิเลสเข้าบังตา ท่านอาจซื้อไว้สัก 2-3 ฉบับ พอผ่านไป 5-10 ปี ราคา พวกนี้ไปแรงมาก (เฉพาะ แบบ 1- 9 เท่านั้น) ผมยกตัวอย่าง เช่น 20 บ ป-เดช แดง ราคา ปี 2540 ของคุณวีรชัย 12500 บ ทุกคนบ่นแพง ปัจจุบัน ราคาตลาดไปที่ 150000บ หรือสภาพรอง นิดๆ ก็ 60000บ หรือ อย่าง 5 บาท หน้าหนุ่มเลขแดงใบ 4500 บ ปัจจุบันราคาไปที่ 10000 บ.แล้ว
อนาคต : เมื่อท่านเบืออยากขายท่านจะพบว่า เสมือนท่านเอาเงินไปลงทุนในธุรกิจ และได้ผลตอบแทน+ความสุขในการสะสม โดยเฉลี่ย ท่านจะได้ผลตอบแทนราว 10-15%ต่อปี (ผลตอบแทนนี้คิดจากการขายให้พ่อค้า หรือส่งเข้างานประมูล แต่ถ้าท่านขายให้นักสะสมด้วยกันการได้มากกว่า 1-2 เปอรืเซนต์ ) คราวนี้มาดูตัวอย่าง
ธนบัตรชุดนี้ ถ้าผมจำไม่ผิด ราคาประกาศขายในเวป 65000 บ . แต่ขายไม่ออก เพราะ
1.
ท่านสังเกตดีๆธนบัตร ทุกใบ มีการล้าง สีจะซีดจาง มีรอยพับ 8 อย่างน้อย แม้จะเป็นแบบ 2 มีตัวติดคือราคา 5บ อยู่ก็ตาม ก็แทบจะไม่มีค่าอะไรเลยเพราะหลังสกปรก พับ 8 นี่ คือ 1 บทเรียน ของการเลือกสะสม ไม่ถูกแนวทาง ราคาดังกล่าวถ้าไปวางแผงพ่อค้าอาจขายได้ เพรานักสะสมบางคนเห้นว่าไม่แพงไปนักและเป็นของเก่า แต่เวลาซื้อเข้าแล้วจะขายออกนี่สิ คิดหนัก ถ้าขายคืน ก็คงได้ไม่เกิน 15000บ แต่ท่านเชื่อไหมว่าของพวกนี้เข้าซื้อเข้า ทุนไม่ถึง 9000 บ ด้วยซ้า จากคนที่ไม่รุ้ค่าเอามาขาย มายำ มาล้าง สักหน่อย อัพราคาไปโลดผมจึงอยากเตือนนักสะสมทุกท่าน จะสะสมก็เล่นของดีไปเลย อาจดูราคาสูงเวลาซื้อ แต่เวลาขาย มันจะไม่มีที่ติเลย อย่างน้อยท่านก็สุขใจไม่ขาดทุน 
มาดูตัวอย่างธนบัตร ราคา 1 1000 บ ที่ไม่น่าสะสม (สะสมได้ถ้าได้ราคาถูกมากๆ เช่น 1บ ซื้อเข้า 201000 บซื้อเข้าสัก 3000 บถ้าแพงกว่านั้นขายออกก็เจ้งลูกเดียว)
1. 1000
บทั้ง 2ใบท่านจะเห้นว่าพับหนักเกือบขาด มีทั้งลายสีลายปากกาเต็มไปหมด
2.1
บ ฉบับนี้ผ่านการใช้งานมาหนักมาก ไม่ควรที่จะซื้อมาสะสม (ถ้าราคาเกิน 50 บ.) จริงอยู่แลยเซ็นต์นี้จะค่อนข้างหายากก็ตาม
3.20
บแบบ 9 ยกลูก10แหนบ สภาพสายรัดเดิม สังเกต สีสายรัดกับธนบัตร และบรรจุหีบห่อครับว่า สีใกล้เคียงกันไม่มีรอยแกะ
การสะสมธนบัตร หรือแสตมป์หรืออื่นๆ ท่านควรตระถึงเรื่อง
1.
ความสุขในการสะสม ทั้งปัจจุบันและอนาคต เสมอ เพราะวันใดเบื่อหรือมีความจำเป้นต้องเปลี่ยนเป้นเงินสด ท่านต้องไม่ขาดทุนจนเสียใจกับอดีตที่ผ่านมา
2.
มีความรอบคอบใจเย็น อย่ายึดราคาตามคู่มือมากไป เพราะ มันเว่อร์เกิน ซื้อขายจริงต่ำกว่าคู่มือมากนัก แต่คนขายหลายคนก็ขายเท่าคู่มือหรือแพงกว่าก้มี ท่านจงจำไว้ว่า ไม่มีของพวกนี้ไม่ตาย แต่ไม่มีอาหารกินไม่มีเงินเลี้ยงครอบครัวนี่คือปัญหาใหญ่ ของพวกนี้ถ้าพวกเรานักสะสมร่วมมือกันไม่ซื้อ นะราคาก็ลงมาเอง อย่าแย่งกันเป็นหนึ่ง ร่วมมือกันกลไกตลาดก็ได้ผล ไม่มีคนซื้อของราคาแพง ราคาก็ลดลงเอง  ที่ของมันขึ้นหรืออัพราคาเพราะ คำว่า โมหะ(ความหลง) ตัณหา(ความอยาก) โลภะ(ความโลภะ) ของนักสะสมเอง ที่กลัวไม่ซื้อจะไม่มีของ ไปหลงคารมพ่อค้า จริงอยู่ในสังคมมันต้องมีพ่อค้าคนกลาง แต่จากที่ผมเห้นมานี่ สินค้าประเภทของสะสม นี่แห่+ฮั้วกันขึ้นราคาเหนียวแน่นมาก จึงอยากวิงวอนให้นักสะสมทุกท่านอย่าเห่อตามกระแส ดัดสันดานพ่อค้าหน้าเลือดกันบ้าง สังคมจะได้สงบ ไม่มีการเอาเปรียบกันจนเกินไป ส่วนธนบัตร ที่มีอายุเก่าแก่ แต่สภาพเก่ายับเยิน เพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ในการเก็บรักษาหรือ จะเป็นเพราะ ถูกพวก พ่อค้า นำไปล้างน้ำยา , ตัดขอบ ส่วนตัวผมคิดว่า ก็ยังมีคุณค่า ในแง่ ประวัติศาสตร์มากมายอยู่ดีถึงแม้อาจจะเป็นคนละแง่ กับ " เรื่อง มาตราฐาน ในการสะสมที่ดี " ของนักสะสมทั่วไปพูดตามตรง ว่า ธนบัตร บางใบ เห็นแล้วอึ้ง ( เพราะไม่เคยเห็นมาก่อน )แล้วชอบมาก กระทู้แบบนี้ มันเป็นจริง และ ได้อารมณ์ เพราะคนสะสมจริงมาพูดเองส่วนเรื่องราคาที่ หนังสือเล่มไหน แนะนำ ( มันแพงเวอร์ )อันนี้ ก็เป็นอันตราย ต่อ ราคากลาง ที่แท้จริง ของวงการนักสะสมเอามาก ๆ ด้วยถ้านักสะสมหน้าใหม่ ยินยอม พร้อมจ่ายตาม ราคาที่หนังสือ แนะนำไม่นานเกินรอ ของสะสม ตัวนั้น ๆ คง ทยอย ปรับราคาขึ้น กัน ยกขโยง

การสะสมVS การลงทุน
การสะสมธนบัตรก็ไม่แตกต่างกับการสะสมด้านอื่นมากนัก ต้องใส่ใจในรายระเอียดในสิ่งสะสม ผมเชื่อว่า เมื่อสะสมไประยะหนึ่ง นักสะสมร้อยละ 95 ก็เริ่มจะคิดกันแล้ว จ้องหาตัวติด ตัวแพง ตัวหายากมาครอบครอง เพื่อจะได้กำไรในอนาคต แต่จงอย่าลืม ใน 100 คน มี 95 คนคิดเหมือนท่าน ทำอย่างไรละถึงจะได้มา ก็ต้องควานหา ไล่ซื้อ ตรงจุดนี้ ทำให้เป็นช่องว่างให้เกิดพ่อค้าคนกลาง เกิดการปรับราคา ตามกลไกตลาด เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ท่านก็จะถามผมว่าจะทำยังไงดีละ ผมตอบจากประสบการณ์ผมละกัน
ครั้งหนึ่งผมก้เคยเป็นแบบนั้น แต่วันนี้ไม่ใช่แล้ว ผมสะสมเพื่อศึกษาอนุรักษ์ ประวัติศาสตร์ สิ่งพิมพ์ ไม่มีตัวแพง ก็ช่างมัน ขอให้ได้แค่รุ้ว่ามันมีลักษณะอย่างไร มีจำนวนเท่าไหร่ ออกใช้โดยเหตุใดบ้าง มีบุคคลในประวัติศาสตร์เกี่ยวข้องกันมากน้อยแค่ไหน สมัยก่อนการเลือกซื้อธนบัตรเข้ามา ซื้อได้เท่าคู่มือ หรือ ต่ำกว่าคู่มือก็ดีใจมาก คิดว่ากำไรแล้วเรา ผ่านไป 5 ปี เวลาขายออก ได้แค่เสมอตัวหรือขาดทุน (กรณีสภาพไม่100%) สารพัดจะติ ผมจึงเน้นเสมอจะสะสม เงินไม่พอไม่เป้นไร รอซื้อแบบUNC ดีกว่า และต้องซื้อตำกว่าคู่มือเสมอ ถ้าซื้อเท่าคู่มือ ก็เตรียมใจการขาดทุนเลย (ขาดทุนค่าเสียโอกาสในการลงทุน ตามหลักเศรษฐศาสตร์ ปกติเราลงทุนแบบอื่นจะให้ผลตอบแทนอย่างต่ำที่ 8%ต่อปี) ร้านไหนอ้างคู่มือ ขายเกิน หรือเท่าก็ไม่ต้องซื้อ ถ้านักสะสมทุกคนทำได้ ก็ปรับกลไกตลาดได้เอง (อาจจะยากมากในทางปฎิบัติ) ...เดี๋ยวมาเขียนต่อนะครับ ไปทำงานก่อน.. 
ผมนำตัวอย่างธนบัตร ราคา 20 บ. แหนบที่ผ่านการล้างมาให้ชมครับ
1
สังเกตสายรัดธนบัตร ครับ สีขาวกว่าตัวธนบัตรเสียอีก แบบนี้แสดว่าทำสายรัดใหม่ และสายรัดเดิมมีขนาดความกว้างน้อยกว่านี้
ภาพด้านหลังครับ
2.
ดูด้านข้างนะครับ ธนบัตรUncขอบแต่ละใบจะติดเสมอกันไม่หลั่นกันเลย อย่างในรูปแสดงว่าถูกดึงออกมาล้างทีละใบแล้วใส่เข้าไปใหม่ขอบจะหลั่นกัน (ท่านใดดูไม่ออก ลองเบิกธนบัตร 20 บ รุ่นปัจจุบันมาครับดุทั้งแหนบสังเกตว่าขอบมันจะเสมอกันทุกใบ แล้วลองดึงมาคลี่เป้นใบๆแล้วเรียงกลับเข้าไปใหม่ ยังไงๆๆมันก็ไม่เสมอกันเหมือนแหบนไม่ได้แกะ)
3.
สังเกตธนบัตรใส้ในไหมครับ ออกเหลืองๆ ซึ่งปกติถ้าจะเหลืองต้องเหลืองจากฉบับบหน้า-หลังไปก่อน อันนี้สันิษฐานได้ว่า อาจล้างบางส่วนมาโดยเฉพาะใบหน้าแหลังช่วงต้นแหนบ ธนบัตรที่ล้างแล้วทับน้ำ จะทำให้ความยาวเพิ่มขึ้นประมาณ 1 มม. ด้านกว้าง 0.5 มม. ธนบัตรที่ล้างทั้งแหนบความยาวจึงไม่เท่ากันเนื่องจากการทับน้ำใช้ น้ำหนักและเวลาไม่เท่ากัน และทำให้ธนบัตรบางลงเนื่องจากการแช่นำยาขณะล้างทำให้ธนบัตรบวมน้ำ และเมื่อนำมาทับไล่น้ำธนบัตรจะขยายตัวทุกทิศทางไม่เป็นตามหลักPoisson's ratio บางครั้งเมื่อนำมาวัดขนาดเเละตัดขอบตามขนาดมาตรฐานแล้วดูแทบไม่ออกว่าล้างมา บางท่านอาจดมดูเนื่องจากกลิ่นน้ำยาล้างธนบัตรจะค่อนข้างฉุน แต่เมื่อทิ้งไว้นานๆ กลิ่นก็จะจางไปเองแต่เมื่อนำมาเข้าแหนบก็ยังสังเกตุได้อยู่ครับ 
การโพสรูปธนบัตรล้างที่งานระดับเซียนจะดูยากมาก เพราะมันจะมีปัจจัยแสงเวลาถ่ายรูปมาร่วมด้วย มันจะดูยากมาก(ผมไม่มีแสกนเนอร์) ผมให้หลักการคร่าวๆ ดังนี้
1.
ธนบัตรที่ล้างแบบไม่เนียน สีจะขาวเกินยุคครับ เช่น 10 บ แบบ 9 สีกระดาษของเดิมจะอมนำตาลเรื่อๆ ล้างมาจะขาวจั๊วะ พวกล้างนี้ ดูตัวอย่างในเวปที่ขายสินค้าประเภทนี้ก็ได้ พวกที่ โพสว่า สวย เยี่ยม หรือใช้งานมาแล้ว พวกนี้ร้อยละ 99.9 ล้าง+ทับนำครับ
2.
กรณีธนบัตรแบบ UnC มีสนิมเยอะ เขาก็จะล้างทั้งใบ ครับ และย้อมกลับ ให้ใกล้เคียงของจริง (พบในธนบัตรราคาขาย เกิน 3 พันบาทขึ้นไป) วิธีดู เซียนรุ่นเก่ามักบอกว่าดมกลิ่น จะมีกลิ่นน้ำยา อยู่ อันนี้ขอบอกว่า ตกยุคแล้วครับ สูตรนำยาใหม่จะไม่มีกลิ่นครับ เทคนิคคือ "ยกส่อง พลิกเอียง " ให้ดูในแสงธรรมชาตินะครับ ยกในระดับสาย พลิกเอียงไปมาในแนว 45 องศากลับไปมาช้าๆครับ จะเห็นเงาหมึกมันวาวครับ ถ้าดูไม่เป้นลองเอาธนบัตรรุ่นไหนก็ได้ที่คุณได้มาและมั่นใจว่าไม่ล้างมาพลิกไปมาดูครับ
3.
จากข้อ 2 จะทำได้ยาก ถ้าคุณดูในที่ร่ม ต่อให้เขาแถมไฟนีออนให้ดู คุณก็ดูยาก เพราะ ไฟจะตั้งบนเคานเตอร์ ซึ่งงคุณต้องมองย้อนลงไป โดยนำตัวธนบัตรไป ไว้ใต้โคมไฟ แล้วดู คุณจะเห้นอะไรละครับ และแน่นอนร้านค้าพวกนี้อยู่ในร่ม ในห้างในเต้นท์ทั้งนั้น
4.
ความแข็งของกระดาษครับจับดูก็รุ้ ถ้าโดนนำมันจะนิ่ม สัมผัสทีเดียวก็จบแล้ว คนที่ไม่เคยจับ แนะนำให้ลองจับธนบัตรแบบ 9ดูก่อนก้ได้ พวกลายเซนต์ธรรมดาก็ได้ มีสนิม ใช้แล้วก็ได้ กระดาษมันจะตึ๊ดๆ สะดุดมือรู้สึกหนาๆ จับให้ชินก่อนค่อยเทียบกับพวกที่ล้าง ไม่ต้องลงทุนไปสะพัดธนบัตรให้ดัง พึ่บๆหรอกครับ จับดูก็รุ้แล้ว
5.
วิธีที่4 จะใช้ไม่ได้กับธนบัตร มูลค่าสูง เช่น พวกตัวติดราคาเป็นหลักแสน พ่อค้า หรือเจ้าของ จะใส่ซองแข็ง 2 ชั้น กันงอ ไม่ให้ถอดออกมาแน่ เพราะเขาก็กลัวคราบนำมันที่ออกมาจากมือคุณ จะทำให้ธนบัตรเขาเป็นสนิมในเวลาต่อมา พวกนี้ ต้องซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้ แต่แน่นอนว่าเมื่อถึงเวลาที่คุรต้องเล่นธนบัตร มูลค่าใบละเป็นแสนเป้นล้าน ประสบการร์คุณต้องแน่นแน่นอน แค่มองคุณก็อาจจะรุ้ได้แล้ว :geek:
แฮะ :lol: อธิบายมากไปเดี่ยวจะโดน คุณพ่อ..ทั้งหลายท่านเล่น จริงๆยังมีเทคนิคอื่นอีกนะครับ ลองทำ 5 ข้อนี้ก่อนว่าพอดูออกไหม ได้ไม่ได้ยังไง เอารุปมาลงก็ได้ครับ จะช่วยดูให้ แต่ที่ผมเห็นในเวปนี้ หลายใบ ทับน้ำแน่ๆ :roll:
ผมว่า ถ้าจะเล่นแบงค์แบบลึกๆ เทคนิค "ยกส่อง พลิกเอียง " จะต้องทำให้เป็น
ต้องลองฝึกดูครับ เริ่มจากแบงค์ปัจจุบันที่เราใช้อยู่ก็ได้ ขอแลกใหม่ๆมาจากธนาคารเลย ลองทำดู จะเห็นความมันของผิวกระดาษ
แล้วลองฝึกสัมผัสด้วย จะรู้ถึงความนูนของตัวหนังสือ
แล้วลองเอาแบงค์ไปจุ่มน้ำ แล้วทับด้วยของหนักๆดู ทิ้งให้แห้ง เอามาส่อง
จะเห็นว่า ความเงาของกระดาษ และความนูนจะหายไป
ทำเสร็จก็เอาแบงค์ไใช้ได้ตามปกติไม่มีใครว่า