บทความที่ได้รับความนิยม

วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เหรียญกษาปณ์ในรัชกาลที่ 6 พ.ศ.2455-2468


เหรียญกษาปณ์ในรัชกาลที่ 6  พ.ศ.2455-2468
1 สตางค์ 
 ร.ศ.130==1000=30ล้านเหรียญ
 พ.ศ.2456 =200
พ.ศ.2457==200=10ล้านเหรียญ
พ.ศ.2458=200
พ.ศ.2461 มี2 รุ่น=200=4ล้านเหรียญ, 10ล้านเหรียญ
พ.ศ.2462มี 3 รุ่น=200
พ.ศ.2463=200
พ.ศ.2464=200=5ล้านเหรียญ
พ.ศ.2466=200=3ล้านเหรียญ
พ.ศ.2467=200
5 สตางค์ 
 ร.ศ.131=1000
 พ.ศ.2456 ==200=2ล้านเหรียญ
พ.ศ.2457=200
พ.ศ.2461=200
พ.ศ.2462มี 2 รุ่น==200=2ล้านเหรียญ, 2.1ล้านเหรียญ
พ.ศ.2463=200=8ล้านเหรียญ
พ.ศ.2464=200=13ล้านเหรียญ
10 สตางค์ 
 ร.ศ.130=1000
ร.ศ.131=1000
 พ.ศ.2456 =200
พ.ศ.2457=200
พ.ศ.2461 มี2 รุ่น=200
พ.ศ.2462มี 3 รุ่น=200=0.7ล้านเหรียญ,7ล้านเหรียญ
พ.ศ.2463=200=5ล้านเหรียญ
พ.ศ.2464=200=21ล้านเหรียญ
พ.ศ.2466=200
พ.ศ.2467=200
1 สลึง (25 สตางค์) 
พ.ศ.2458==2.04ล้านเหรียญ==800
พ.ศ.2460==1.1ล้านเหรียญ==800
พ.ศ.2461==2.17ล้านเหรียญ==800
พ.ศ.2462มี2รุ่น==7.86ล้านเหรียญ==800
พ.ศ.2467==2.1ล้านเหรียญ==800
พ.ศ.2468==800
2 สลึง (50 สตางค์) 
พ.ศ.2458==2.7ล้านเหรียญ==800
พ.ศ.2462มี2รุ่น==3.23ล้านเหรียญ==800
พ.ศ.2463==7.997ล้านเหรียญ==800
พ.ศ.2464==800
1 บาท 
พ.ศ.2456==2.6ล้านเหรียญ==1000
พ.ศ.2457==0.49ล้านเหรียญ==1000
พ.ศ.2458==5ล้านเหรียญ==1000
พ.ศ.2459==9.08ล้านเหรียญ==1000
พ.ศ.2460==14.34ล้านเหรียญ==1000
พ.ศ.2461==3.84ล้านเหรียญ==1000
ทองคำ  
1 สตางค์  พ.ศ.2456=
5 สตางค์  พ.ศ.2456=
10 สตางค์ พ.ศ.2456=

เหรียญกษาปณ์ในรัชกาลที่ 8 พ.ศ.2478-2489


เหรียญกษาปณ์ในรัชกาลที่  8        พ.ศ.2478-2489
½ สตางค์
พ.ศ.2480=200=12ล้านเหรียญ
1 สตางค์ 
พ.ศ.2478=200=12ล้านเหรียญ
พ.ศ.2480=200=9ล้านเหรียญ
พ.ศ.2482=200
พ.ศ.2484=200=23ล้านเหรียญ
พ.ศ.2485=200
พ.ศ.2487=200=11.9ล้านเหรียญ
5 สตางค์ 
พ.ศ.2478=200=10ล้านเหรียญ
พ.ศ.2480=200
พ.ศ.2484=300=1.88ล้านเหรียญ
พ.ศ.2485=200=2.4ล้านเหรียญ
พ.ศ.2487=200=3ล้านเหรียญ
พ.ศ.2488=100
10 สตางค์ 
พ.ศ.2478=200=5ล้านเหรียญ
พ.ศ.2480=200
พ.ศ.2484=200=3ล้านเหรียญ
พ.ศ.2485=200=1.8ล้านเหรียญ
พ.ศ.2487=200=1.6ล้านเหรียญ
พ.ศ.2488=100
20 สตางค์ 
พ.ศ.2485=700=3ล้านเหรียญ
พ.ศ.2488=300=4.6ล้านเหรียญ
5,10,25,50 สตางค์ (เศียรโต)
พ.ศ.2489=200=4.1ล้านเหรียญ ,500=13ล้านเหรียญ,
 1500=8.5ล้านเหรียญ,12,000=2.7ล้านเหรียญ
5,10,25,50 สตางค์  (เศียรเล็ก)
พ.ศ.2489==50 ,100, 50,200

เหรียญกษาปณ์ในรัชกาลที่ 7 พ.ศ.2469-2472


เหรียญกษาปณ์ในรัชกาลที่ 7  พ.ศ.2469-2472
1 สตางค์ 
พ.ศ.2469=200=20ล้านเหรียญ
พ.ศ.2470=200=30ล้านเหรียญ
พ.ศ.2472=200=50ล้านเหรียญ
5 สตางค์ 
พ.ศ.2469=200=20ล้านเหรียญ
25 สตางค์ 
พ.ศ.2472=1200=17ล้านเหรียญ
50 สตางค์ 
พ.ศ.2472=2000

เหรียญกษาปณ์และเหรียญที่ระลึกปลอม


หรียญกษาปณ์และเหรียญที่ระลึกปลอม
เหรียญกษาปณ์และเหรียญที่ระลึกที่เป็นเหรียญโบราณในประวัติศาสตร์ของไทยมีปลอมเกือบทุกรายการ จะขอยกไว้ ดังนี้
-ร.4 ที่พบปลอมมากๆมาตั้งแต่รัชสมัยของพระองค์แล้ว คือ เหรียญดีบุกราคาโสฬส และอัฐ เพราะเป็นเหรียญที่มีการหมุนเวียนใช้จ่ายผ่านมือคนระดับล่างๆที่ค่อนข้างยากจน แต่ที่พบปลอมมากในปัจจุบันก็จะเป็นรุ่นที่หายากๆทั้งหลาย โดยเฉพาะเหรียญเถาพระมหาพิชัยมงกุฎ ชนิดกึ่งตำลึง กึ่งบาท ตำลึง(แต้เม้ง) สองไพ ชนิดอื่นพบปลอมน้อย
-ร.5 พบปลอมทุกชนิดรายการโดยเฉพาะเหรียญในความใฝ่ฝันของนักสะสม เซียนพระ นักเลงของเก่า ฯลฯ เพราะพระบารมีล้นเกล้าของพระองค์ท่าน แน่นอนเหรียญนั้นคือ เหรียญปราบฮ่อ(เป็นเหรียญราชอิสริยาภรณ์พระราชทานแก่เจ้านายเชื้อพระวงศ์ นายทหาร และทหาร ที่ร่วมรบในสงครามปราบฮ่อทั้ง 3 ครั้ง มีเฉพาะเนื้อโลหะเงินเท่านั้นมี 3 ชั้น พระราชทาน 3 ครั้ง รายละเอียดท่านโปรดอ่านเพิ่มเติมจากหอสมุดนะครับ) เหรียญบาท ร.ศ.127 เฉลิมรัชมงคลาภิเษก ปีที่ 41 ในราชสมบัติ ตราไอยราพต เรียกง่ายว่า "เหรียญหนวด" ที่เหลือรายการอื่นปลอมเยอะมากๆ
-ร.6 พบปลอมพวกเหรียญสลึง สองสลึง ชนิดมีจุดทั้งสองชนิดราคา เหรียญบาท พ.ศ.2461 สตางค์รูชนิดราคา 1 สตางค์ พ.ศ.2464(หายากที่สุดของชุดสตางค์แดง) และเหรียญที่กำลังเป็นประเด็นคือ 10 สตางค์ พ.ศ.2466 และ พ.ศ.2467 รายละเอียดตามที่ผมกล่าวไว้แล้วนะครับ
-ร.7 ยังไม่ปรากฏ
-ร.8 พบเหรียญดีบุกชนิดราคา 50 สตางค์ พระเศียรโต และเหรียญรูชนิดราคา 20 สตางค์ พ.ศ.2485(เหรียญเงิน)

ของสะสม


"ของสะสม" จัดเป็นงานอดิเรกที่มีคุณค่าทางจิตใจเมื่อเก็บไว้ และยังเพิ่มมูลค่าขึ้นเรื่อยๆ โดยที่ราคาไม่มีวันตก ยิ่งของสะสม ทำเงิน "ยอดฮิต"
ลงทุนใน "ของสะสม" ฟังดูอาจเป็นทางเลือกที่ไม่คุ้นเคย ต่างจากการลงทุนทั่วๆ ไป แต่เป็นสินทรัพย์ลงทุนที่น่าสนใจในแง่ของคุณค่าทาง "จิตใจ" ตามมาด้วยมูลค่าผลตอบแทนที่ "คุ้มค่า" หากรู้จักและศึกษาอย่างจริงจัง
มีคนลองเปรียบเทียบให้ฟังว่า ..ระหว่างลงทุน "ซื้อทองคำแท่ง" 1 บาท กับ เหรียญกษาปณ์ 1 บาท เมื่อเวลาผ่านไปเท่ากันๆ "มูลค่า" ของเหรียญกษาปณ์(บางรุ่น) กลับให้ผลตอบแทนที่ "มากกว่า" หลายเท่าตัว ทีเดียว !!!
แต่ก็คนจำนวนมาก ไม่รู้คุณค่าของสิ่งสะสมที่ตัวเองมีอยู่ จากที่คนรุ่นก่อนๆ ทิ้งเอาไว้ให้ อาจเพราะไม่เคยมีความรู้ หรือให้ความสนใจมาก่อน
มีเรื่องเล่าสนุกๆ ของครอบครัวหนึ่ง ที่พบว่า ของสะสมที่คุณพ่อผู้เสียชีวิต เก็บไว้ในหมอน คือ ธนบัตรเก่าๆ ที่มีคำว่า "สยามรัฐ" พิมพ์อยู่ คนในบ้านเข้าใจว่า เป็นแบงก์กงเต็ก เกือบจะนำไปทิ้ง แต่เมื่อนำไปให้ผู้รู้ดูและนำไปประมูล กลับพบว่า มีมูลค่า "กว่า 2 แสนบาท" !!
ใครจะรู้ว่า "รูปภาพ" หรือ "ภาพถ่าย" สมัยปู่ย่าตายาย แขวนไว้ที่ฝาบ้าน วันหนึ่งจะมีมูลค่ากว่า "แปดหมื่นบาท"
"
แสตมป์บางรุ่น" เป็นที่ต้องการของต่างประเทศ ซึ่งเก็บอยู่ในกล่องขนมปังเก่าๆ ในบ้าน แต่ไม่มีใครรู้คุณค่า....
เมื่อเวลาผ่านไป กลับมีมูลค่ามหาศาลขึ้นมาในพริบตา!!
เรื่องราวเช่นนี้ ยังมีอีกมากมาย และพบเห็นได้ทุกวัน ..
"
ของสะสม" เปรียบได้กับการลงทุนใน "ที่ดิน" ที่ราคาจะขึ้นกับ กฎของ "อุปสงค์" หรือ ความต้องการ (Demand)ซื้อสินค้า ที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ ตามจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ "อุปทาน" หรือจำนวนสินค้า (Supply) มีจำนวนจำกัด
นอกจากนี้ สภาพคล่อง สามารถซื้อ และ ขายเปลี่ยนมือ ยังง่ายขึ้นในยุคปัจจุบัน จากหลาย "ช่องทาง" ที่จะแปลงของสะสมต่างๆ ให้เป็น "เงิน" ได้ไม่ยาก ทั้งผ่านการซื้อ ขาย ประมูล ทั้งระบบการประมูลตรง หรือ ผ่านอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
ของสะสม จึงเป็นที่รู้จักและนิยม เพื่อการลงทุน กันมากขึ้นในยุคนี้
3
สิ่งของสะสม "สร้างเงิน" ฮอตฮิตสิ่งสะสมในในโลกนี้มีมากมายหลายอย่าง ไล่ตั้งแต่...เหรียญกษาปณ์ แสตมป์ ธนบัตร โปสการ์ด ไปรษณียบัตร เครื่องเงิน และอื่นๆ มากมายแต่ของสะสมที่ได้รับความนิยม เพื่อการลงทุนมากที่สุด เห็นจะมีสิ่งสะสม 3 ประเภทด้วยกัน นั่นคือ "เหรียญกษาปณ์" "แสตมป์" และ "ธนบัตร"
"
ทัตต์ วรรณศิลป์" อดีตผู้บริหารบริษัทเอกชนรายใหญ่ ที่เกษียณตัวเองมาสู่ธุรกิจของสะสม บอกว่า ของสะสมทั้งสามประเภทนี้ สามารถมองเป็นได้ 2 รูปแบบ ทั้งในแง่การ "สะสม" และเป็นการ "ลงทุน" ที่ดีโดยเฉพาะในจังหวะที่ช่องทางการลงทุนซบเซา เช่นนี้
"
เวลานี้ อาจเป็นช่วงที่ดีสุดของคนหนึ่งที่มองหาการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนที่ดี สบายใจและสนุกสนานกับมันด้วย ถ้าเราลงทุนแล้ว ได้นั่งจับ มีเพื่อนคุยทั่วโลก และตอนจบยังสามารถทำให้มีมูลค่าสินทรัพย์เพิ่มขึ้น มันจึงน่าสนุก"
"เหรียญทองคำ"..ยังงัยก็ได้ทอง
อย่างลงทุนในเหรียญกษาปณ์ทองคำ ยังงัยก็ต้องได้ทองคำ วันยังค่ำ ..ทัตต์ จึงแนะนำว่า หากจะคิดจะสะสมเหรีญกษาปณ์ควรจะเลือก "เหรียญทองคำ" แม้ว่าจะต้องใช้เงินค่อนข้างมาก
เขายกตัวอย่างว่า อย่างเหรียญกษาปณ์ทองคำรัชกาลที่ 9 จากมูลค่าหน้าเหรียญที่ 5,000 บาท เท่ากับทองคำราคา 1 บาท เมื่อปี 2520 ถึงวันนี้ เวลาผ่านไป 30ปี จบการประมูลราคาขึ้นมาอยู่ที่ 4 หมื่นบาทผลตอบแทนที่ได้เฉลี่ยปีละ 25% ถือว่า คุ้มค่า ทีเดียวราคาเหรียญทองคำที่เพิ่มขึ้น เป็นผลจากมูลค่าเพิ่มขึ้นตามมูลค่าทองคำ และตามมูลค่าของความต้องการของนักสะสม ด้วย
"
นอกจากเราได้สะสมเหรียญทองคำ ยังได้เหรียญในหลวง ร.9 ที่เรารัก และได้เหรียญทองคำ ที่เป็นที่ต้องการในตลาดอีกด้วย ผมจึงแนะนำว่า คนที่คิดจะเข้ามาลงทุน ควรเลือกเหรียญกษปาณ์ทองคำ"
ส่วน "เหรียญเงิน" เขาให้มองเป็นการ "สะสม" ไม่ใช่เพื่อการลงทุน เป็นการเก็บไว้เพื่อให้เรามีความสุขที่ได้ดูเหรียญจะเหมาะกว่านั่นเพราะว่า มูลค่าของเหรียญเงินกับทองคำนั้นต่างกันอย่างสิ้นเชิง
"
อย่างทองคำราคา 1บาท น้ำหนัก 15.2 กรัม ปัจจุบันราคาประมาณ 15,000บาท แต่ถ้าเป็นเหรียญเงิน 1 บาท น้ำหนักเท่ากัน แต่ค่าของเงินจะประมาณบาทละ 200 บาทเท่านั้น ซึ่งค่าของมันต่างกันเยอะมาก
ผมจึงมองว่า การจะให้น้ำหนักลงทุนขอให้มองเหรียญเงินเป็นด้านสะสม แต่ให้มองเหรียญทองคำ เป็นการลงทุน เพราะในอนาคตความต้องการในตลาดจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น แม้ราคาตอนซื้อจะแพงกว่ากันมากก็ตาม"
ก่อนหน้านั้น เหรียญทองคำเป็นที่นิยมอยู่แล้ว เมื่อราคาขึ้นในตลาดโลก ก็ทำให้เหรียญทองคำขึ้นไปด้วย จึงเป็นโอกาสดีของนักสะสม ความต้องการเหรียญทองคำ ร.9 พอควร
ทัตต์ ยังแนะนำอีกว่า ผู้ที่คิดลงทุนควรจะมองไปที่เหรียญทองคำ สมัยร.9 เพราะในหมู่นักสะสมมีดีมาน์ด์หรือความต้องการมากตลอดเวลา เป็นเพราะ
1.
ความศรัทธา
2.
บวกกับความรักในหลวง
3.
เป็นทองคำ
และ4.แรงมีดันตลอดเวลา
นักสะสม บอกว่า เหรียญทองคำ ร.9 ราคาจึงไม่เคยตกลงมาเลยในรอบ 10ปี ที่ผ่านมาปัจจุบัน ราคาหน้าเหรียญทองคำ มีทั้งหมด 3 ประเภท ประกอบด้วยเหรียญทองคำ 1 สลึง มูลค่าขึ้นไปที่ 1,500 บาท เหรียญ 2 สลึง อยู่ที่ 3,000 บาท และราคา 1 บาท อยู่ที่ 6,000 บาท ทีเดียว
"
ผมมองว่า ราคาเหรียญทองคำจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งในปี 2554 ซึ่งในหลวงจะครบรอบครองราชย์ฯ ครบ 84 พรรษา ถือเป็นวาระพิเศษ นักลงทุนควรจะสะสมเป็นชุดทั้ง 3 เหรียญคาดว่า แนวโน้มราคาทองคำยังเป็นขาขึ้น นอกจากได้เหรียญสะสมแล้ว ยังได้มูลค่าตามราคาทองอีกด้วย"
หากเปรียบเทียบกับปีที่ในหลวงครองราชย์ฯครบ 25ปี ได้มีเหรียญทองคำออกมา 2เหรียญ ราคา 400 บาทน้ำหนัก 10 กรัม และเหรียญ 800 บาท ราคา 20 กรัม ซึ่งได้รับความนิยมของนักสะสมมากปัจจุบัน มูลค่าของเหรียญชุดนี้ อยู่ที่ 3.8 หมื่นบาท ทั้งๆที่น้ำหนักทองไม่ถึง 2 บาท แต่มีมูลค่าสะสมรวมอยู่ด้วยเหรียญทองคำ จึงเป็นของสะสมที่ผู้ลงทุนควรจับจองไว้เป็นเจ้าของขณะที่ เหรียญทองและเหรียญเงิน "ขัดเงา" มูลค่าในอนาคตกับแตกต่างจากเหรียญทองคำ
ทัตต์ บอกว่า ในแง่ของการลงทุนเหรียญทองและเงินขัดเงา จำต้องระวัง เนื่องจากการซื้อครั้งแรกจะแพงกว่าปกติ เพราะจะมีค่าแรงงานการขัดเงารวมอยู่ในราคาหน้าเหรียญ ทำให้ราคาที่ออกมาจึงสูงกว่าน้ำหนักของทองและเงิน แต่เป็นเหรียญที่มีโอกาสเพิ่มมูลค่าได้เหมือนกัน
"
ในมุมของกลุ่มนักสะสมจะมองว่า การเสียค่าขัดเงา อาจต้องใช้เวลาในการเก็บรักษา ผลตอบแทนที่ได้อาจไม่คุ้มเวลาที่ลงทุน เวลาจึงเป้าตัวกำหนด บางเหรียญผ่านไป 2ปี ยังไม่ได้เท่าทุน แต่ก็มีบางเหรียญเหมือนกันที่ราคารไกลมากกว่าเหรียญธรรมดา ตรงนี้ขึ้นอยู่กับกฎของดีมานด์และซัพพลายในตลาดเป็นตัวกำหนด"
ทั้งนี้ เหรียญเงินขัดเงา ปัจจุบันจะมีแต่เหรียญรุ่น 600 บาท จากเดิมที่เคยมีเหรียญรุ่น 150 บาท
นอกจากนั้น ยังมีเหรียญนิเคิลหรือเหรียญธรรมดา แต่ให้เน้นเป็นการสะสม เท่านั้น เพื่อเก็บไว้ศึกษามากกว่า
ล้วใครรู้บ้างว่าปัจจุบัน เซียนเหรียญ ที่อันดับต้น ๆ เป็นใครบ้าง แต่คนเหล่านี้คงไม่ค่อยยอมเปิดตัวเปิดกรุให้อนุชนรุ่นหลังได้เยิ่ยมชม ทรัพย์สินเหล่านั้นแน่เลย อันนี้น่าเสียดาย ครับ อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ การสะสมเหรียญ และรักเหรียญจึงยังไม่เป็นที่แพร่หลายและยอมรับมากเท่าใดน๊ะผมว่า จึงอยู่ในคนกลุ่มหนึ่งหนึ่งเท่านั้น เสียดายครับ 

10 ยอดอันดับหายาก เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนสมัย ร. 9


10 ยอดอันดับหายาก เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนสมัย ร. 9
10 ยอดอันดับหายากเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนสมัยร.9 จัดอันดับได้ดังนี้
อันดับ 10 เหรียญกษาปณ์อลูมิเนียมราคา 5 สต. พ.ศ.2530
อันดับ 9 เหรียญกษาปณ์อลูมิเนียมราคา 10 สต. พ.ศ.2530
อันดับ 8 เหรียญกษาปณ์นิกเกิลราคา 1 บาท พ.ศ.2529 ด้านหลังช่อฟ้าหางยาว
อันดับ 7 เหรียญกษาปณ์อลูมิเนียมบรอนซ์ราคา 50 สต. พ.ศ.2530
อันดับ 6 เหรียญกษาปณ์อลูมิเนียมบรอนซ์ราคา 50 สต. พ.ศ.2493 ด้านหลังตัวหนังสือหนา
อันดับ 5 เหรียญกษาปณ์นิกเกิลราคา 1 บาท พ.ศ.2525 ด้านหน้าพระเศียรเล็ก
อันดับ 4 เหรียญกษาปณ์อลูมิเนียมบรอนซ์ราคา 10 สต. พ.ศ.2500 ด้านหลังสิบสตางค์หางยาว
อันดับ 3 เหรียญกษาปณ์อลูมิเนียมบรอนซ์ราคา25สต.พ.ศ.2500ด้านหลังตราแผ่นดินบล็อคเล็ก
อันดับ 2 เหรียญกษาปณ์สองสีราคา 10 บาท พ.ศ. 2533
อันดับ 1 เหรียญกษาปณ์นิกเกิลเคลือบไส้ทองแดงราคา 5 บาท พ.ศ.2525 ด้านหน้าพระเศียรเล็ก
อันดับ 1 เหรียญกษาปณ์นิกเกิลเคลือบไส้ทองแดงราคา 5 บาท พ.ศ.2525 ด้านหน้าพระเศียรเล็ก
เหรียญนี้คงต้องคุยกันนานเพราะมันเป็นตำนานจริงๆ มีเพียงหนึ่งเดียวและที่เห็นมามีเพียงเหรียญเดียวยังไม่เคยเห็นเหรียญที่สองเลยครับ ย้อนกลับไปเมื่อปี 2539 ก่อนฟองสบู่แตกเล็กน้อยตอนนั้นถือเป็นยุคทองของเหรียญกษาปณ์เพราะมีคนเล่นหากันแบบไม่เกรงใจคนจน คงเป็นเพราะเศรษฐกิจดีขนาดไม่มีเงินหรือเงินไม่พอยังสามารถแปะเอาไว้ก่อน เอาของมาก่อนแล้วค่อยหาเงินไปใช้ให้ทีหลังทำตัวเป็นเศรษฐีกันถ้วนหน้าผมเองไม่ถึงขนาดนั้นแต่ก็อดที่จะตามขบวนกับเขาไม่ได้กลัวจะตกรถไฟ ขณะที่ผมกำลังก้มๆเงยๆมองหาเหรียญอยู่แถวหน้าวัดพระแก้วก็มีมือมาสะกิดทำให้ผมหันไปพี่ๆผมมีเหรียญมาให้ดูผมหันไปก็ไม่ใช่ใครอื่นไกลเป็นนักวิ่งเหรียญ(ไม่รู้จะเรียกว่าอะไรดีประมาณว่าเป็นคนหาเหรียญแล้วคอยส่งต่อให้พ่อค้าอีกที) เจ้าประจำที่คุ้นเคยกันอยู่ เหรียญอะไรผมถามอย่างอารมณ์ดี เหรียญหายากครับ ผมว่าพี่ต้องชอบผมไม่รอช้าเลี่ยงเดินออกมาโดยมีเจ้านักวิ่งเหรียญตามมาติดๆไหนขอดูหน่อยว่าเจ๋งจริงหรือเปล่าเจ้านักวิ่งเหรียญเปิดกระเป๋าย่ามบรรจงหยิบเหรียญออกมายื่นให้เจ๋งอยู่แล้วพี่ ดูซะก่อนผมรับเหรียญมาแล้วมองดูพลิกไปพลิกมาก็ยังไม่ใจเลยควักกล้องออกมาส่องอยู่สักครู่แล้วก็ถามว่าเท่าไหร่เจ้าเด็กวิ่งเหรียญตอบแบบไม่เกรงใจผมห้าหมื่นครับพี่ผมนิ่งไปพักใหญ่เพราะเจอของหนักอีกแล้วมีเหรียญเดียวหรือผมถามเพื่อหยั่งเชิงโอย..พี่มีเหรียญเดียวจะไปหาที่ไหนตั้งหลายๆเหรียญ นี่มัน พ.ศ. 39 แล้วตั้ง 14 ปีมาแล้วนะยังไม่เคยเห็นแบบนี้มาก่อน ผมได้มาจากคนคัดเหรียญของกองกษาปณ์ อ้ายคนคัดเหรียญมันยังบอกว่ามันเองก็ไม่เคยเห็นเหรียญแบบนี้มาก่อนผมเองก็มั่นใจลึกๆว่าเจ้าเด็กวิ่งเหรียญน่าจะพูดจริงเพราะเวลาผ่านมานานแล้วผมเองก็ยังไม่เคยรู้มาก่อนว่ามันมีเหรียญแบบนี้ ที่เคยเห็นบ่อยก็จะเป็นเหรียญราคา 1บาทแบบพระเศียรเล็กแต่ราคา 5 บาทแบบพระเศียรเล็กยังไม่เคยเจอเลย ไม่ลดหน่อยหรือ เช้าๆอย่างนี้เจ้านักวิ่งเหรียญตอบแบบรู้ใจว่าผมสนใจสินค้า อย่าเลยพี่แบ่งๆกัน พี่ก็รู้ว่าผมให้พี่ดูเป็นคนแรกๆทุกครั้งเลยเจอไม้นี้ผมเลยพูดไม่ออกเดินไปกดเงินให้แล้วเดินตัวเบาออกมา ดีใจก็ดีใจที่ได้ของหายาก แต่ติดใจตรงที่จะมีเหรียญที่สองให้เห็นอีกหรือเปล่า เหรียญหายากที่สุดที่โพสท์มาให้ดูจริงๆแล้วแทบจะไม่มีใครได้เคยเห็นมาก่อนเลยเพราะไม่เคยเอาไปโชว์ที่ไหนและคิดว่าคงแทบจะไม่มีใครเคยรู้ด้วยซ้ำว่ามีเหรียญแบบนี้ สภาพของเหรียญเป็นเหรียญที่ใช้งานแล้วแต่ยังอยู่ในสภาพดีระดับEFผมเชื่อว่าเหรียญนี้คงมีคนเอามาแลกคืนเหมือนๆกับเหรียญทั่วๆไปที่เขามักเอาเหรียญใช้แล้วมาแลกคืนที่กษาปณ์ เจ้าคนที่มีหน้าที่ในการคัดแยกเหรียญเพื่อนำไปบรรจุถุงใหม่เพื่อจ่ายแลกคงจะพบเข้าจึงเอามาขายต่อให้กับเจ้าเด็กวิ่งเหรียญ และในที่สุดก็เลยตกอยู่กับผม ลักษณะโดยรวมทั่วไปจะเหมือนกับเหรียญห้าบาทครุฑตรงที่เป็นโลหะนิกเกิลเคลือบไส้ทองแดง โดยด้านหน้าจะเหมือนกับเหรียญ 1 บาทพระเศียรเล็กทุกประการผิดกันอยู่ตรงที่ขนาดไม่เท่ากันเพราะเป็นเหรียญ 5 บาทซึ่งมีขนาดที่ใหญ่กว่า(คงจะใช้วิธีย่อลายจากต้นแบบเดียวกันในการทำแม่พิมพ์) โดยที่รายละเอียดของรูปภาพในหลวงและการวางตัวหนังสือโดยรอบภาพจะแตกต่างกับบล็อคปกติ ส่วนด้านหลังลวดลายทุกอย่างเหมือนกับด้านหลังของเหรียญ 5 บาทที่เป็นรูปครุฑตรงปกติและมีเลข ๒๕ ขนาดจิ๋วในตัวนกวายุภักษ์ขนาดจิ๋วซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของโรงกษาปณ์ที่บริเวณใต้ตัวหนังสือคำว่าบาทผมเองพยายามหาเหรียญที่สองต่อมาอีกนานก็ยังหาไม่ได้ จนเดี๋ยวนี้เลิกหาแล้วเพราะคิดว่าคงจะหาไม่ได้อีกอย่างแน่นอน คงต้องปล่อยให้เป็นตำนานไปก็แล้วกันเหรียญที่โพสท์มาให้ชมรูปบนเป็นเหรียญ 5 บาทด้านหน้าพระเศียรเล็กซึ่งเป็นเหรียญที่หายากที่สุดส่วนรูปล่างเป็นเหรียญ 5 บาทแบบปกติทั้งบล็อคด้านหน้าและด้านหลังซึ่งพบเห็นได้ทั่วไปครับ
อันดับ 2 เหรียญกษาปณ์สองสีราคา 10 บาท พ.ศ. 2533
จัดเป็นเหรียญใหม่ที่รู้จำนวนการผลิตที่ชัดเจนคือ 100 เหรียญ นับว่าน้อยมากๆเคยนั่งคุยกับผู้รู้ท่านเล่าว่าผู้ใหญ่ของกรมธนารักษ์ต้องทำหนังสือขออนุญาตผลิตเหรียญรุ่นนี้ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวง    การคลังในสมัยนั้นซึ่งผมคิดเอาว่าน่าจะเป็นระเบียบปฏิบัติที่ต้องทำกันอยู่แล้วเพื่อนำเหรียญไปเผยแพร่ในงานที่เกี่ยวกับเหรียญกษาปณ์ที่ประเทศแคนาดาคงจะมีการแจกแลกเปลี่ยนเหรียญกันในกลุ่มผู้เข้า ร่วมงาน และที่เหลือจากการแจกแลกเปลี่ยนคงจะนำกลับมาเมืองไทยซึ่งจะเป็นจำนวนเท่าไหร่คงไม่มีใครตอบได้ ที่แน่ๆก็คงจะหลายสิบเหรียญ ตอนแรกๆประมาณปี พ.ศ. 2534ได้ยินพวกพ่อค้าเหรียญพูดถึงเหรียญนี้ แต่ก็ไม่เคยเห็นของจริงๆ มีแต่ราคาคุยว่าหาไม่ยาก ราคาไม่แพงราวกับว่าจะหาเมื่อไหร่ก็ได้ เผอิญผมเองก็ไม่ค่อยได้สนใจเท่าไหร่นักก็เลยไม่ได้ติดตาม จนกระทั่งได้เจ้าเหรียญนี้มาเมื่อปี พ.ศ.2538 ในราคาที่ต้องอดข้าวอดน้ำไปอีกหลายเดือน จนป่านนี้ผมเองก็ยังไม่เคยเห็นมีใครเอามาเสนอขายให้เห็นอีกเลย สงสัยว่าคงจะหายากจริงๆ เหรียญนี้โดยภาพรวมของทุกเหรียญน่าจะอยู่ในสภาพดีมากแบบยังไม่ได้ใช้งาน(UNC)เพราะเจตนาผลิตออกมาเพื่อเอาไปประชาสัมพันธ์ ไม่ได้ผลิตเพื่อเอามาใช้จ่ายแลก เชื่อว่าแต่ก่อนเหรียญที่เหลือกลับมาน่าจะตกอยู่กับผู้ใหญ่ในกองกษาปณ์และผู้ใหญ่ในกระทรวงการคลังนั่นแหละ แล้วก็คงถูกพ่อค้าไปตอดออกมาทีละเล็กทีละน้อย (เดาเอานะ) จนหมดไปในที่สุด กลายเป็นของหายากที่อยู่ในมือของนักสะสมที่มีเงินเหลือเฟือ (ไม่ใช่ตัวผมอย่างแน่นอน) และในที่สุดก็คงต้องกลายเป็นเหรียญหายากมากๆของวงการไปเสียแล้ว ที่จะพบเห็นกันก็มักจะเป็นเหรียญปี 2537 นำมาตัดหาง ต้องสังเกตและเปรียบเทียบดูก็พอจะแยกแยะได้ครับ
อันดับ 3 เหรียญกษาปณ์อลูมิเนียมบรอนซ์ราคา25สต.พ.ศ.2500ด้านหลังตราแผ่นดินบล็อกเล็ก
เป็นเหรียญที่จัดได้ว่าหายากมากถึงยากมากที่สุดอีกเหรียญหนึ่งทีเดียว เดินหาจนรองเท้าสึกก็ยังหาไม่ได้ สภาพของเหรียญไม่ต้องพูดถึงความสวยหรอกครับ เอาแค่หาให้ได้ก็พอแล้ว และจริงๆจะหาสภาพสวยก็ไม่มี เท่าที่เคยพบมามีแต่เหรียญใช้งานแล้วทั้งนั้น และอยู่ในสภาพแค่พอใช้(F) จำนวนที่พบเห็นน่าจะไม่เกินหลักสิบ เพราะกาลเวลาผ่านมาตั้ง 50 กว่าปีแล้ว ด้านหน้าของเหรียญนี้ก็เหมือนกับเหรียญทองเหลือง 25 สต.บล็อคปกติทั่วไป แต่ด้านหลังของบล็อคหายากลวดลายของตราแผ่นดินจะมีขนาดเล็กกว่าบล็อคแบบปกติเล็กน้อย และขนาดของตัวหนังสือจะมีความบางกว่าบล็อคปกติ เหรียญที่นำมาโพสท์จัดอยู่ในระดับแค่พอใช้ (F) และหาได้เพียงเหรียญเดียวหมดปัญญาหาเหรียญที่สองถ้าใครมีผมสนใจนะครับบอกมาได้เลย เหรียญที่มีอยู่กว่าจะได้มาก็ต้องลุ้นอยู่นานเพราะเจ้าของไม่ใช่พ่อค้าเลยไม่กล้าเสนอราคาและเขาก็ไม่ได้เดือดร้อนขืนสุ่มสี่สุ่มห้าอาจเสียรังวัดมองหน้ากันไม่ติด เลยต้องเอาเหรียญอื่นๆไปแลกมาครับ เหรียญที่โพสท์เอามาให้ดูเหรียญบนเป็นเหรียญด้านหลังตราแผ่นดินบล็อคเล็กที่หายากส่วนรูปด้านล่างเป็นเหรียญปกติที่หาได้ทั่วไปครับ
อันดับ 4 เหรียญกษาปณ์อลูมิเนียมบรอนซ์ราคา 10 สต. พ.ศ.2500 ด้านหลังสิบสตางค์หางยาว
เหรียญนี้นับว่าเป็นตัวติดที่ขึ้นชื่อว่าหายาก และหาของสวยๆได้ยากมาก เรียกว่าต้องหากันจนรองเท้าสึกกว่าจะได้ แต่ถ้าบล็อคเดียวกันนี้เป็นเนื้อทองแดงจะหาได้ง่ายกว่า อายุของเหรียญก็กว่า 50 ปีแล้วจะไปหาของได้ที่ไหนเท่าที่พอจะเจอะเจอก็มักจะสึกหรือลื่นจนไม่อยากเอาไปเข้าเซทเข้าพวกเพราะไปด้วยกันไม่ค่อยได้เหลือเพียงศักดิ์ศรีแค่เป็นตัวติดที่หายากเท่านั้น ด้านหน้าของเหรียญจะเป็นบล็อคเดียวกัน แต่ด้านหลังจะไม่เหมือนกัน โดยมักจะดูความต่างตรงเลข ๑๐ซึ่งหางของเลข ๑ ของบล็อคที่หายากจะยาวลงมามากกว่าบล็อคปกติอย่างเห็นได้ชัด เหรียญตัวนี้จัดเป็นของหายากและมีราคาแพงมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว เวลานี้น่าจะหาแทบไม่ได้ครับ เหรียญตัวที่โพสท์มาลงก็ได้มาหลายปีแล้วจนจำ พ.ศ.ไม่ได้ ความสวยเกือบอยู่ในระดับ UNC เหรียญบล็อคนี้ถ้าเป็นทองเหลืองด้านหลังมักจะตีไม่ค่อยเต็มลวดลายขึ้นไม่ค่อยชัดผิดกับเนื้อที่เป็นทองแดงซึ่งด้านหลังจะมีลวดลายที่คมชัดกว่าครับเหรียญที่โพสท์เอามาให้ดูเหรียญบนเป็นเหรียญด้านหลังสิบสตางค์หางยาวที่หายาก ส่วนรูปด้านล่างเป็นเหรียญปกติที่หาได้ทั่วไปครับ
อันดับ 5 เหรียญกษาปณ์นิกเกิลราคา 1 บาท พ.ศ.2525 ด้านหน้าพระเศียรเล็ก
จริงๆแล้วเหรียญบล็อคนี้น่าจะจัดให้เป็นเหรียญตัวอย่างที่ไม่ได้นำออกใช้แต่เผอิญว่าตอนผลิตเหรียญเข้าจริงๆคนพิมพ์เหรียญคงจะใส่แม่พิมพ์ด้านหน้าผิดจึงทำให้เกิดบล็อคใหม่ขึ้นมาที่เรียกกันแบบง่ายๆว่า บล็อคพระเศียรเล็กเพราะลักษณะของพระเศียรจะมีขนาดที่ผอมกว่าบล็อคปกติอยู่เล็กน้อย ส่วนด้านหลังก็เป็นบล็อคเดียวกันกับแบบปกติ(มีเลข ๒๕ อยู่ในตัวนกวายุภักษ์)เหรียญบล็อคนี้ปะปนมากับเหรียญบล็อคปกติซึ่งอยู่ในถุงตอนจ่ายแลก เมื่อบรรดานักเก็บเหรียญและพ่อค้าสังเกตเห็นจึงแห่กันไปแลกเหรียญกันมาเป็นถุงๆ เป็นกระสอบๆแล้วทำการคัดเลือกกันเป็นการใหญ่ ส่วนใหญ่ก็ได้กันครับแต่ก็ไม่มากนัก ฉะนั้นเหรียญบล็อคนี้ส่วนใหญ่จึงยังอยู่ในสภาพดีระดับ UNC และตอนแรกๆก็จะขายกันแพงครับ เหรียญละไม่ต่ำกว่า 1,500 บาท แต่ตอนนี้ราคาน่าจะตกลงมาเยอะแต่ก็ยังจัดว่าเป็นเหรียญหายากครับ ถ้าสภาพดีราคาไม่แพงอย่าปล่อยให้หลุดมือไปก็แล้วกัน อีกทั้งอายุของเหรียญก็ตั้ง 27 ปีเข้าไปแล้วเหรียญที่โพสท์เอามาให้ดูเหรียญบนเป็นเหรียญด้านหน้าพระเศียรเล็กที่หายากส่วนรูปด้านล่างเป็นเหรียญปกติที่หาได้ทั่วไปครับ
อันดับ 6 เหรียญกษาปณ์อลูมิเนียมบรอนซ์ราคา 50 สต. พ.ศ.2493 ด้านหลังตัวหนังสือหนา
จัดเป็นเหรียญหายากครับ โดยปกติเหรียญรุ่นนี้ด้านหน้าจะมีเพียงบล็อคเดียว ส่วนด้านหลังมีสองบล็อค บล็อคที่หาง่ายและพบได้ทั่วไปจะเป็นบล็อคที่ตัวหนังสือมีขนาดที่บางกว่าโดยจะสังเกตได้ชัดที่ตัวเลข ๕๐ ซึ่งจะต่างกับบล็อคที่หายากซึ่งจะมีตัวเลขที่หนากว่า ส่วนรายละเอียดอื่นๆของบล็อคที่หายากที่บริเวณตราแผ่นดินก็จะคล้ายกันต้องสังเกตดีๆจึงจะเห็นความแตกต่างเหรียญรุ่นนี้หาสภาพดีๆได้ค่อนข้างยากส่วนใหญ่เป็นเหรียญใช้งานแล้วเกือบทั้งนั้น ถึงเวลานี้ผ่านมาตั้งเกือบ 60 ปีแล้วจะเหลือให้เห็นสักกี่เหรียญครับภาพที่โพสท์มาภาพบนเป็นบล็อคด้านหลังตัวหนังสือหนาที่หายาก ส่วนภาพล่างเป็นบล็อคตัวหนังสือแบบปกติที่พบเห็นได้ง่ายกว่า
อันดับ 7 เหรียญกษาปณ์อลูมิเนียมบรอนซ์ราคา 50 สต. พ.ศ.2530
เป็นเหรียญที่ผลิตออกมาเพียง 1,000 เหรียญ ซึ่งนับว่าน้อยมาก จะด้วยสาเหตุใดก็ไม่ทราบอาจเป็นเพราะเป็นปีแรกที่มีการเปลี่ยนแบบและขนาดของเหรียญ และเหรียญปีก่อนๆยังมีอยู่เป็นจำนวนมากจึงผลิตออกมาเพียงให้ครบ พ.ศ. ก็เป็นไปได้ จึงนับได้ว่าเป็นตัวติดที่หาได้ลำบากถ้าจะสะสมให้ครบชุด ครบ พ.ศ. ของเหรียญกษาปณ์ประเภทหมุนเวียนครับ
อันดับ 8 เหรียญกษาปณ์นิกเกิลราคา 1 บาท พ.ศ. 2529 ด้านหลังช่อฟ้าหางยาว
เป็นเหรียญบาทปีแรกที่มีขนาดเล็ก มีจำนวนผลิตไม่มากแค่ 4,200,000 เหรียญ ทีแรกๆก็ไม่มีใครสังเกตหรอกครับว่าบล็อกด้านหลังมีความต่างกันตรงช่อฟ้าบนหลังคาโบสถ์วัดพระแก้วบริเวณด้านขวาของเหรียญซึ่งมีช่อฟ้าที่ยาวและสั้นต่างกัน จำนวนเกือบทั้งหมดของเหรียญรุ่นนี้เป็นช่อฟ้าแบบหางสั้น ที่เป็นแบบหางยาวมีน้อยกว่ามากและเหรียญพบมักจะเป็นเหรียญที่ใช้แล้วหาประเภทใหม่เอี่ยม (UNC)ได้ยาก จัดเป็นเหรียญหายากครับ รูปบนเป็นเหรียญที่บล็อกด้านหลังเป็นแบบช่อฟ้าหางยาวรูปล่างเป็นเหรียญที่บล็อคด้านหน้าเป็นแบบช่อฟ้าหางสั้น
อันดับ 9เหรียญกษาปณ์อลูมิเนียมราคา 10 สต. พ.ศ.2530
ไม่แน่ใจว่าจะเป็นความเข้าใจผิดของผมเองหรือเปล่าที่จัดอันดับเหรียญตัวนี้เป็นตัวติดที่หายากเพราะดูข้อมูลของกรมธนารักษ์เขาลงไว้ว่าผลิตเพียง 5,000 เหรียญ ไม่รู้จะหาข้อมูลเพิ่มจากแหล่งไหน ถ้าผลิตแค่นี้จริงก็ถือเป็นตัวติดได้เหมือนกัน สมาชิกท่านใดมีข้อมูลยืนยันว่าผลิตมากกว่านี้หรือดูแล้วเห็นว่าหาไม่ยากก็บอกมาครับผมเองก็อาศัยถ่ายรูปมาจาก แพ็คของกษาปณ์มาอีกทีซึ่งซื้อหามาและราคาก็ยังไม่ค่อยแพงครับ
อันดับ 10เหรียญกษาปณ์อลูมิเนียมราคา 5 สต. พ.ศ.2530
เหรียญตัวนี้เป็นตัวติดที่หายากเพราะดูข้อมูลของกรมธนารักษ์เขาลงไว้ว่าผลิตเพียง 10,000 เหรียญ ไม่รู้จะหาข้อมูลเพิ่มจากแหล่งไหน ถ้าผลิตแค่นี้จริงก็ถือเป็นตัวติดได้เหมือนกัน