บทความที่ได้รับความนิยม

วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ของสะสม


"ของสะสม" จัดเป็นงานอดิเรกที่มีคุณค่าทางจิตใจเมื่อเก็บไว้ และยังเพิ่มมูลค่าขึ้นเรื่อยๆ โดยที่ราคาไม่มีวันตก ยิ่งของสะสม ทำเงิน "ยอดฮิต"
ลงทุนใน "ของสะสม" ฟังดูอาจเป็นทางเลือกที่ไม่คุ้นเคย ต่างจากการลงทุนทั่วๆ ไป แต่เป็นสินทรัพย์ลงทุนที่น่าสนใจในแง่ของคุณค่าทาง "จิตใจ" ตามมาด้วยมูลค่าผลตอบแทนที่ "คุ้มค่า" หากรู้จักและศึกษาอย่างจริงจัง
มีคนลองเปรียบเทียบให้ฟังว่า ..ระหว่างลงทุน "ซื้อทองคำแท่ง" 1 บาท กับ เหรียญกษาปณ์ 1 บาท เมื่อเวลาผ่านไปเท่ากันๆ "มูลค่า" ของเหรียญกษาปณ์(บางรุ่น) กลับให้ผลตอบแทนที่ "มากกว่า" หลายเท่าตัว ทีเดียว !!!
แต่ก็คนจำนวนมาก ไม่รู้คุณค่าของสิ่งสะสมที่ตัวเองมีอยู่ จากที่คนรุ่นก่อนๆ ทิ้งเอาไว้ให้ อาจเพราะไม่เคยมีความรู้ หรือให้ความสนใจมาก่อน
มีเรื่องเล่าสนุกๆ ของครอบครัวหนึ่ง ที่พบว่า ของสะสมที่คุณพ่อผู้เสียชีวิต เก็บไว้ในหมอน คือ ธนบัตรเก่าๆ ที่มีคำว่า "สยามรัฐ" พิมพ์อยู่ คนในบ้านเข้าใจว่า เป็นแบงก์กงเต็ก เกือบจะนำไปทิ้ง แต่เมื่อนำไปให้ผู้รู้ดูและนำไปประมูล กลับพบว่า มีมูลค่า "กว่า 2 แสนบาท" !!
ใครจะรู้ว่า "รูปภาพ" หรือ "ภาพถ่าย" สมัยปู่ย่าตายาย แขวนไว้ที่ฝาบ้าน วันหนึ่งจะมีมูลค่ากว่า "แปดหมื่นบาท"
"
แสตมป์บางรุ่น" เป็นที่ต้องการของต่างประเทศ ซึ่งเก็บอยู่ในกล่องขนมปังเก่าๆ ในบ้าน แต่ไม่มีใครรู้คุณค่า....
เมื่อเวลาผ่านไป กลับมีมูลค่ามหาศาลขึ้นมาในพริบตา!!
เรื่องราวเช่นนี้ ยังมีอีกมากมาย และพบเห็นได้ทุกวัน ..
"
ของสะสม" เปรียบได้กับการลงทุนใน "ที่ดิน" ที่ราคาจะขึ้นกับ กฎของ "อุปสงค์" หรือ ความต้องการ (Demand)ซื้อสินค้า ที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ ตามจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ "อุปทาน" หรือจำนวนสินค้า (Supply) มีจำนวนจำกัด
นอกจากนี้ สภาพคล่อง สามารถซื้อ และ ขายเปลี่ยนมือ ยังง่ายขึ้นในยุคปัจจุบัน จากหลาย "ช่องทาง" ที่จะแปลงของสะสมต่างๆ ให้เป็น "เงิน" ได้ไม่ยาก ทั้งผ่านการซื้อ ขาย ประมูล ทั้งระบบการประมูลตรง หรือ ผ่านอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
ของสะสม จึงเป็นที่รู้จักและนิยม เพื่อการลงทุน กันมากขึ้นในยุคนี้
3
สิ่งของสะสม "สร้างเงิน" ฮอตฮิตสิ่งสะสมในในโลกนี้มีมากมายหลายอย่าง ไล่ตั้งแต่...เหรียญกษาปณ์ แสตมป์ ธนบัตร โปสการ์ด ไปรษณียบัตร เครื่องเงิน และอื่นๆ มากมายแต่ของสะสมที่ได้รับความนิยม เพื่อการลงทุนมากที่สุด เห็นจะมีสิ่งสะสม 3 ประเภทด้วยกัน นั่นคือ "เหรียญกษาปณ์" "แสตมป์" และ "ธนบัตร"
"
ทัตต์ วรรณศิลป์" อดีตผู้บริหารบริษัทเอกชนรายใหญ่ ที่เกษียณตัวเองมาสู่ธุรกิจของสะสม บอกว่า ของสะสมทั้งสามประเภทนี้ สามารถมองเป็นได้ 2 รูปแบบ ทั้งในแง่การ "สะสม" และเป็นการ "ลงทุน" ที่ดีโดยเฉพาะในจังหวะที่ช่องทางการลงทุนซบเซา เช่นนี้
"
เวลานี้ อาจเป็นช่วงที่ดีสุดของคนหนึ่งที่มองหาการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนที่ดี สบายใจและสนุกสนานกับมันด้วย ถ้าเราลงทุนแล้ว ได้นั่งจับ มีเพื่อนคุยทั่วโลก และตอนจบยังสามารถทำให้มีมูลค่าสินทรัพย์เพิ่มขึ้น มันจึงน่าสนุก"
"เหรียญทองคำ"..ยังงัยก็ได้ทอง
อย่างลงทุนในเหรียญกษาปณ์ทองคำ ยังงัยก็ต้องได้ทองคำ วันยังค่ำ ..ทัตต์ จึงแนะนำว่า หากจะคิดจะสะสมเหรีญกษาปณ์ควรจะเลือก "เหรียญทองคำ" แม้ว่าจะต้องใช้เงินค่อนข้างมาก
เขายกตัวอย่างว่า อย่างเหรียญกษาปณ์ทองคำรัชกาลที่ 9 จากมูลค่าหน้าเหรียญที่ 5,000 บาท เท่ากับทองคำราคา 1 บาท เมื่อปี 2520 ถึงวันนี้ เวลาผ่านไป 30ปี จบการประมูลราคาขึ้นมาอยู่ที่ 4 หมื่นบาทผลตอบแทนที่ได้เฉลี่ยปีละ 25% ถือว่า คุ้มค่า ทีเดียวราคาเหรียญทองคำที่เพิ่มขึ้น เป็นผลจากมูลค่าเพิ่มขึ้นตามมูลค่าทองคำ และตามมูลค่าของความต้องการของนักสะสม ด้วย
"
นอกจากเราได้สะสมเหรียญทองคำ ยังได้เหรียญในหลวง ร.9 ที่เรารัก และได้เหรียญทองคำ ที่เป็นที่ต้องการในตลาดอีกด้วย ผมจึงแนะนำว่า คนที่คิดจะเข้ามาลงทุน ควรเลือกเหรียญกษปาณ์ทองคำ"
ส่วน "เหรียญเงิน" เขาให้มองเป็นการ "สะสม" ไม่ใช่เพื่อการลงทุน เป็นการเก็บไว้เพื่อให้เรามีความสุขที่ได้ดูเหรียญจะเหมาะกว่านั่นเพราะว่า มูลค่าของเหรียญเงินกับทองคำนั้นต่างกันอย่างสิ้นเชิง
"
อย่างทองคำราคา 1บาท น้ำหนัก 15.2 กรัม ปัจจุบันราคาประมาณ 15,000บาท แต่ถ้าเป็นเหรียญเงิน 1 บาท น้ำหนักเท่ากัน แต่ค่าของเงินจะประมาณบาทละ 200 บาทเท่านั้น ซึ่งค่าของมันต่างกันเยอะมาก
ผมจึงมองว่า การจะให้น้ำหนักลงทุนขอให้มองเหรียญเงินเป็นด้านสะสม แต่ให้มองเหรียญทองคำ เป็นการลงทุน เพราะในอนาคตความต้องการในตลาดจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น แม้ราคาตอนซื้อจะแพงกว่ากันมากก็ตาม"
ก่อนหน้านั้น เหรียญทองคำเป็นที่นิยมอยู่แล้ว เมื่อราคาขึ้นในตลาดโลก ก็ทำให้เหรียญทองคำขึ้นไปด้วย จึงเป็นโอกาสดีของนักสะสม ความต้องการเหรียญทองคำ ร.9 พอควร
ทัตต์ ยังแนะนำอีกว่า ผู้ที่คิดลงทุนควรจะมองไปที่เหรียญทองคำ สมัยร.9 เพราะในหมู่นักสะสมมีดีมาน์ด์หรือความต้องการมากตลอดเวลา เป็นเพราะ
1.
ความศรัทธา
2.
บวกกับความรักในหลวง
3.
เป็นทองคำ
และ4.แรงมีดันตลอดเวลา
นักสะสม บอกว่า เหรียญทองคำ ร.9 ราคาจึงไม่เคยตกลงมาเลยในรอบ 10ปี ที่ผ่านมาปัจจุบัน ราคาหน้าเหรียญทองคำ มีทั้งหมด 3 ประเภท ประกอบด้วยเหรียญทองคำ 1 สลึง มูลค่าขึ้นไปที่ 1,500 บาท เหรียญ 2 สลึง อยู่ที่ 3,000 บาท และราคา 1 บาท อยู่ที่ 6,000 บาท ทีเดียว
"
ผมมองว่า ราคาเหรียญทองคำจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งในปี 2554 ซึ่งในหลวงจะครบรอบครองราชย์ฯ ครบ 84 พรรษา ถือเป็นวาระพิเศษ นักลงทุนควรจะสะสมเป็นชุดทั้ง 3 เหรียญคาดว่า แนวโน้มราคาทองคำยังเป็นขาขึ้น นอกจากได้เหรียญสะสมแล้ว ยังได้มูลค่าตามราคาทองอีกด้วย"
หากเปรียบเทียบกับปีที่ในหลวงครองราชย์ฯครบ 25ปี ได้มีเหรียญทองคำออกมา 2เหรียญ ราคา 400 บาทน้ำหนัก 10 กรัม และเหรียญ 800 บาท ราคา 20 กรัม ซึ่งได้รับความนิยมของนักสะสมมากปัจจุบัน มูลค่าของเหรียญชุดนี้ อยู่ที่ 3.8 หมื่นบาท ทั้งๆที่น้ำหนักทองไม่ถึง 2 บาท แต่มีมูลค่าสะสมรวมอยู่ด้วยเหรียญทองคำ จึงเป็นของสะสมที่ผู้ลงทุนควรจับจองไว้เป็นเจ้าของขณะที่ เหรียญทองและเหรียญเงิน "ขัดเงา" มูลค่าในอนาคตกับแตกต่างจากเหรียญทองคำ
ทัตต์ บอกว่า ในแง่ของการลงทุนเหรียญทองและเงินขัดเงา จำต้องระวัง เนื่องจากการซื้อครั้งแรกจะแพงกว่าปกติ เพราะจะมีค่าแรงงานการขัดเงารวมอยู่ในราคาหน้าเหรียญ ทำให้ราคาที่ออกมาจึงสูงกว่าน้ำหนักของทองและเงิน แต่เป็นเหรียญที่มีโอกาสเพิ่มมูลค่าได้เหมือนกัน
"
ในมุมของกลุ่มนักสะสมจะมองว่า การเสียค่าขัดเงา อาจต้องใช้เวลาในการเก็บรักษา ผลตอบแทนที่ได้อาจไม่คุ้มเวลาที่ลงทุน เวลาจึงเป้าตัวกำหนด บางเหรียญผ่านไป 2ปี ยังไม่ได้เท่าทุน แต่ก็มีบางเหรียญเหมือนกันที่ราคารไกลมากกว่าเหรียญธรรมดา ตรงนี้ขึ้นอยู่กับกฎของดีมานด์และซัพพลายในตลาดเป็นตัวกำหนด"
ทั้งนี้ เหรียญเงินขัดเงา ปัจจุบันจะมีแต่เหรียญรุ่น 600 บาท จากเดิมที่เคยมีเหรียญรุ่น 150 บาท
นอกจากนั้น ยังมีเหรียญนิเคิลหรือเหรียญธรรมดา แต่ให้เน้นเป็นการสะสม เท่านั้น เพื่อเก็บไว้ศึกษามากกว่า
ล้วใครรู้บ้างว่าปัจจุบัน เซียนเหรียญ ที่อันดับต้น ๆ เป็นใครบ้าง แต่คนเหล่านี้คงไม่ค่อยยอมเปิดตัวเปิดกรุให้อนุชนรุ่นหลังได้เยิ่ยมชม ทรัพย์สินเหล่านั้นแน่เลย อันนี้น่าเสียดาย ครับ อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ การสะสมเหรียญ และรักเหรียญจึงยังไม่เป็นที่แพร่หลายและยอมรับมากเท่าใดน๊ะผมว่า จึงอยู่ในคนกลุ่มหนึ่งหนึ่งเท่านั้น เสียดายครับ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น